อีกหนึ่งคุณสมบัติที่ Samsung Galaxy S3 ให้มาครบครันสำหรับคนที่ชอบถ่ายภาพ
นั่นคือเรื่องการปรับแต่งเรื่องกล้อง มาลองมองผ่านจอกันดูว่าเขาให้อะไรกันมาบ้าง
ตอนแรกที่มีการเก็งกันไปสารพัดว่า Samsung Galaxy S3
นั้นจะเปิดตัวที่กล้องความละเอียดเท่าไหร่ 8ล้านพิกเซล หรือว่า 12 ล้านพิกเซล
แต่ผลก็ออกมาอย่างที่เห็นนะครับคือกล้องของ Samsung Galaxy S3 ให้มา 8 ล้านพิกเซล
แต่อย่าได้หมายมั่นว่ามันจะไม่ได้เรื่อง เพราะสิ่งที่น่าสนใจมันไม่ได้อยู่ที่ตัวเลขพิกเซล
เข้ามาที่หัวข้อการตั้งค่านิดนึงก่อน
สำหรับมือใหม่ที่ได้ Samsung Galaxy S3 อยู่ในมือ แล้วจะคว้ามันไปถ่ายรูปเลย
ผมย้ำเลยว่า นีือคือหัวข้อที่คุณเข้ามาดูเป็นอย่างแรก
เพราะหลายหัวข้อที่จำเป็นต่อมือใหม่ ดันตั้งค่า “ปิด” ให้เป็นค่ามาตรฐานซะนี่
เช่น การดูกลางแจ้ง หรือว่าระบบกันสั่น
เพราะมีหลายคนบอกว่าทำไมถ่าย ด้วย Samsung Galaxy S3 ออกมาแล้วสั่นก็เพราะแบบนี้ล่ะครับ
พอเปิดใช้ระบบกันสั่นใน Samsung Galaxy S3 ชีวิตหลายท่านก็ดีขึ้น
มาดูเรื่องโหมดถ่ายรูปพื้นฐานก่อน
– ชอทเดียว ก็คือการยิงภาพถ่ายครั้งละ 1 รูป ซึ่งเราสามารถปรับเรื่องแสงของภาพได้
– การถ่ายภาพต่อเนื่อง เอาไว้สำหรับถ่ายภาพเครื่อนไหว ถ่ายภาพในกรเหตุการณ์เฉพาะหน้าที่ต้องความต่อเนื่อง
สามาารถยิงได้ติดกันหลายๆรูป
– HDR คือการเารูปถ่ายที่มีการรับค่าแสงต่างกัน มารวมกันเป้นหนึ่งภาพเพื่อให้ได้รูปที่สภาพแสงครบถ้วน
– สไมล์ช็อท สำหรับถ่ายบุคคลโดยมีการจับไปที่ใบหน้า แล้วตั้งถ่ายรูปอัติืโนมัติ เมื่อบุคคลในภาพมีการยิ้ม
– บิวตี้ อันนี้สาวๆน่าจะชอบครับ ถ้าจะถ่ายให้ใบหน้าดูวิ้ง ดูสวยเรียบก็ต้องเลือกอันนี้
– พานอราม่า ก็คือถ่ายภาพแบบแนวกว้าง เช่นเอาไปถ่านสถานที่ หรือว่าวิวทิวทัศน์
– การ์ตูน จริงๆอันนี้ไม่ควรจะตั้งเป็นการ์ตูนเลยด้วยซ้ำ มันเป้นเอฟเฟคภาพสีแบบเละๆนิดนึง
ส่วนตัวแล้วไม่คิดว่าน่าจะใส่มาด้วยซ้ำ
– แชร์ภาพ อันนี้ถ้าคุณมีอุปกรณ์ DLNA ที่เคยเชื่อมต่อกับ Samsung Galaxy S3 คุณน่าจะชอบ
เพราะถ่ายเสร็จสามารถส่งขึ้นไปแสดงผลได้เลย
– แชร์ภาพกับคู่หู อันนี้ล่ะครับที่เป็นของที่ใช้ได้ และใช้ดีจริงๆ ส่วนตัวแล้วประทับใจกับมันมาก
คือ Samsung Galaxy S3 มีระบบจดจำใบหน้าที่ฉลาด เวลาถ่ายรูปก้จะถามเลยว่า ให้ส่งต่อไปยังบุคคลในภาพดลยหรือไม่
ในส่วนของการโฟสกัสนั้น Samsung Galaxy S3 มีให้เราเลือกใช้ 3 แบบคือ
– ออโต้โฟกัส ถ้าถ่ายทั่วไปก็เลือกใช้แบบนี้ไปครับ แต่ว่าตอนใช้งานจริง
เราสามารถเลือกจิ้มจุดโฟกัสตรงหน้าจอได้ ว่าอยากจะให้ไปโฟกัสตรงไหนพิเศษ
– มาโคร ก็สำหรับถ่ายระยะใกล้พิเศษ เช่น ดอกไม้ หรือสิ่งของชิ้นเล็กๆ
– ตรวจจับใบหน้า ถ้าต้องการถ่ายบุคคลเป็นพิเศษ โดยเน้นไปที่ใบหน้า ก็จะแนะนำให้ใช้โหมดนี้
แต่จากการทดสอบ ถึงใช้แบบออโต้โฟกัส ซอฟท์แวร์ใน Samsung Galaxy S3
ก็ฉลาดในการจับหน้าของคนประมาณนึงอยู่แล้ว
ในส่วนของเครื่องวัด..ถ้าใครใช้แต่กล้องคอมแพคอาจจะรู้สึกแปลกใจ
เพราะเราจะเห็นกันแต่ในกล้อง DSLR
เพราะใน Samsung Galaxy S3 มีการวัดแสงระดับกึ่งมืออาชีพมาให้เลย
อาทิ วัดจากกลางภาพ วัดจากตำแหน่ง ส่วนใหญ่จะเอาไปใช้วัดที่ตัวแบบ
เมทริกซ์ก็วัดแบบค่าเฉลี่ยทั้งภาพ
ไหนๆวัดแสดงได้ระดับนั้นแล้ว จะไม่ให้ปรับความไวแสงก็จะกะไร
ในกล้องของ Samsung Galaxy S3 นั้น ปรับได้สูงสุด ISO 800
อ่อ…ขณะถ่ายก็สามารถชดเชยแสงได้ 2 ระดับ
ทั้งภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวนะครับ
ซึ่งงหัวข้อนี้ทำผมตกใจไปนิดหน่อย
คือ Sasmsung ย่อความสามารถของกล้องคอมแพค
ลงมาใส่ Samsung Galaxy S3 ชัดๆ
แต่ความฉลาดของมันเริ่มจากนี้ต่างหาก
โดยมาตรฐานแล้วเลือกการตั้งค่าของการถ่ยภาพจะเป็นแบบชอทเดียว
แต่ในกรณีที่เราต้องการถ่ายต่อเนื่อง เราต้องไปเลือกก่อนให้เป็นการถ่ายภาพแบบต่อเนื่องก่อนนะครับ
แต่ต้องบอกไว้ก่อน Burst Shot มีเอาไว้ถ่ายเอาในเวลาเร่งด่วน ภาพที่ต้องไปแย่งกันถ่ายเฉพาะหน้า เช่น ภาพข่าว ภาพเคลื่อนไหว
ไม่ได้หมายความว่าเอาไว้ถ่ายเอาสวย ฉะนั้นมันจะไม่สามารถใช้ซีนโหมดได้
แต่ไม่ได้หมายความว่า ภาพที่ได้มามันจะออกมาไม่ดี เพราะด้านบนซ้ายจะมีตัวเลือกที่เขียนว่า ”ช็อทที่ดีที่สุด”
ซึ่งมาหายถึงว่าในบรรดารูที่เรายิงไประนั้น ระบใน Samsung Galaxy S จะเลือกภาพที่สวยที่ดีสุดให้
หลังจากระบบเลือกให้แล้ว จะมีไอคอนชูนิ้วโป้งให้เรากดตัดสินใจอีกทีว่าเอารูปนี้
หลังจากถ่าย Burst Shot ก็อย่างที่เห็นนี่ล่ะครับ จะมีรูปโผล่ออกมาเป็นกุรุส
แต่จะมีหนึ่งรูปที่จะถูกเลือกให้เป็น Best Shot โดยมีเครื่องหมายยกนิ้ว
เกณฑ์การเลือกก็ดูจากสภาพแสง จากหน้าบุคคล ความคมชัดของภาพ อย่างน้อยนก็ย่นระยะเวลาในการนั่งคัดรูปในระดับหนึ่ง
ฉะนั้น Samsung Galaxy S3 ก็น่าจะเป็นตัวเลือกนึงของคนที่ต้องใช้โทรศัพท์ทำข่าวหรือต้องการความเร่งด่วนอยู่บ่อยๆ
มาดูในกรณีคนทั่วไปบ้าง…ชีวิตอาจจะไม่ได้ต้องการความเร็ว
แต่ต้องการมีช่วงเวลาที่ถ่ายรูปคู่กับใครสักคนแล้วแบ่งกันเวลาความทรงจำนั้นๆ
ใน Samsung Galaxy S3 ก็มีระบบจดจำใบหน้าให้ได้ใช้กัน
ในการถ่ายรูปหน้บุคคลนั้น Samsung Galaxy S 3 จะดักส่วนที่เป็นหน้าของบุคคลเอาไว้โดยทำการตีกรอบล้อม
ซึ่งตรงนี้เราสามารถจะใส่ชื่อบุคคลที่เราต้องการให้เครื่องจดจำได้ว่าใครเป็นใครกันบ้าง
โดยเลือกกรอบสีเหลืองแล้วกด “เพิ่มชื่อ” ครับ
การเพิ่มชื่อนั้นจะไปอ่างอิงตรงส่วนของ Contact ในตัวอย่างนี้ ส่วนของชื่อผมจะมีเบอร์โทร มีอี-เมลล์ ก็สามารถแบ่งปันได้เลย
หลังจากที่ทำการตั้งระบบให้ทำการจดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็กลับมาที่หน้ารูปอีกครั้งนึง
คราวนี้กรอบที่หน้าคนก็จะกลายเป็นสีฟ้านั่น คือ ระบบรู้จักเรียบร้อยว่าคนในรูปคือใคร
ในกรณีที่มีเครื่องหมายคำถาม นั่นหมายถึงโทรศัพท์กำลังถามว่าใช่บุคคลนั้นมั้นให้กดงไปหนึ่งครั้ง
แล้วกดยืนยันชื่อในหน้าต่างที่เด้งขึ้นมาครับ
ถ้าต้องการส่งรูปไปให้ ส่ง SMS หรือว่าจะโทรไปหาบุคคลในรูป
ก็จิ้มที่หน้าคนนั้น แล้วจะมีชุดคำสั่งขึ้นมาครับก็จิ้มเลือกจากตรงนั้นได้เลย
นี่เป็นสิ่งที่กล้องจริงยังให้ไม่ได้ ณ ตอนนี้
มาลองดูตัวอย่างของ ภาพถ่ายจาก Samsung Galaxy S3 ก่อนบางส่วนนะครับ
จะว่าไปกล้องหน้าของ Samsung Glaxy S3 ตัวกล้องหน้าก็ให้มา 2 ล้านพิกเซล
ซึ่งถือว่าว่าเยอะนะครับสำหรับมาตรฐานในตอนนี้ก้ลองดูซักนิดนึงละกัน ว่าคุณภาพจะเป็นยังไงบ้าง
ส่วนใครที่ต้องการดูตัวอย่างภาพถ่ายจาก Samsung Galaxy S3 ดูได้ ที่นี่ ครับ
คุณสมบัติด้านกล้องของ Samsung Galaxy S3 บอกตรงๆ
ถ้าคุณเป็นประเภทแกะห่อ แล้วหล่อเลย กล้องใน Samsung Galaxy S3 อาจจะไม่เหมาะเท่าไหร่
ไม่ใช่มันถ่ายไม่สวยนะครับ ก็ถ่ายสวยแต่ระดับนึง คือโหมด Auto มันไม่ค่อยฉลาด
จนกว่าคุณจะเข้าถึงเมนูการปรับแต่ของมันลึกๆนี่แหล่ะถึงรีดคุณสมบัติออกมาได้หมด
และทำให้ใช้ได้เหมาะกับมือใหม่จริงๆ
ส่วนภาพกลางคืนนั้น Flare ไม่เยอะ แต่ Grain ของภาพนี่ค่อนข้างจัดว่าเยอะอยู่
แต่การถ่ายในภาพที่ต้องการสีดำแบบดำสนิทจริงๆ อันนี้ผ่านอยู่
ส่วน Smile Shot นี่ลูกผีลูกคนไปนิด
กว่าจะใช้ได้ ผมกับนางแบบยิ้มกันเหงือกบานฉ่ำคล้ำเขียว
ซึ่งตรงกันข้ามกับระบบจดจำหน้า ที่ฉลาดเหลือเชื่อ
ยังคงยำเหมือนเดิมครับ..ถ้าคุณจะเป็นเจ้าของ Samsung Galaxy S3
คุณต้องมีเวลาไล่ศึกษามันจริงจัง เพราะเขาใส่ไม่กั๊กจริงๆ
แต่รอคุณมาเปิดใช้ทีละอย่างๆด้วยตัวเอง
ทิ้งท้ายด้วยเทคนิคการใช้ Samsung Galaxy S3 นิดนึง
ในหัวข้อของการตั้งค่าขณะถ่ายที่อยู่ซ้ายมือ
คุณจับมันลากสลับที่ได้ครับ..ไว้ใครได้สัมผัสลองเล่นกันดู
ขอบคุณ Samsung Thailand ที่เอื้อเฟื้อเครื่องในการทดสอบครับ
คุณภาพของภาพที่ได้ ยังสู้กล้องคอมแพคราคาต่ำกว่าหมื่นไม่ได้เลยครับ
มันจะเป็นกล้องคอมแพคที่โทรออกได้ยังไงหว่า
ถ้าวัดตามกายภาพ โทรศัพท์คงให้ภาพสู้กล้องคอมแพคไม่ได้แน่ๆครับ
ด้วยจาก เลนส์ ccd และอื่นๆ แต่ถ้ามองเรืีอง feature การถ่ายภาพ
ของโทรศัพท์ มันใกล้เคียงกับ compact มากขึ้น
และมันเรื่มเป็นสินค้าแทนที่้กล้องcompact แล้วน่ะครับ
ลองดูจากคนรอบข้างเรา เหลือคนพกกล้องcompactกั่คน
ขอบคุณสำหรับความเห็นครั
ผม 🙂