คนที่ชอบเล่นโทรศัพท์มือถือ ต่างก็มีความฝันลึกๆบ้างล่ะว่า
อยากจะลองจับโทรศัพท์จากฝั่งญี่ปุ่นอยู่แน่ๆ
และว่าจะเป็นข่าวดีที่ว่าตอนนี้แบรนด์โทรศัพท์มือถือจากญี่ปุ่นอย่าง Sharp
ได้มีการมาทำตลาดในไทยแบบเต็มที่ และหนึ่งในนั้นคือ Sharp SH631W
คนส่วนมากที่ได้ชื่อของ Sharp ส่วนใหญ่ มักจะนึกไปถึงหม้อหุงข้าว หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ
นั่นก็ถือว่าเป็นผลพวงของ CopyWriter รุ่นน้าที่ทำให้ชื่อ Sharp อยู่ในความทรงจำได้แบบข้ามเวลามาเป็นสิบปี
แต่สำหรับคนที่สนใจวงการโทรศัพท์มือถือแบบจริงๆจังๆนั้น
อาจจะพอรู้ว่า Sharp อยู่ในตลาดนี้มานานพอสมควร โดยเริ่มมีโทรศัพท์มือถือรุ่นแรกๆในปี 2002
และเคยมีเครื่องหิ้วในตำนานอย่าง Sharp 903 ขายกันเต็ม MBK
และ Sharp ก็กลับมาทำตลาดในประเทศไทยอีกครั้งครั้ง นี้ก็ปูพรมขายถึง 4 รุ่น 4ช่วงราคา
ด้วยความที่ว่า Sharp จะออกแบบโทรศัพท์แบบ Mininalism ตั้งแต่เครื่องจนไปถึง UI
ฉะนั้นคุณจะไม่เห็นอะไรหวือหวาในตัวเครื่องมากนัก จะออกแนวเรียบๆ
เน้นดูดี ดูภูมิฐาน ทันสมัยซะมากกว่า
หน้าจอของ Sharp SH631W มีขนาด 4.5 นิ้วความละเอียด 540×960 qHD
คุณภาพของจอแสดงผลสำหรับราคาค่าตังเท่านี้ ถ้าเทียบกับโทรศัพท์ที่ออกมาเมื่อช่วงปีที่แล้ว
คุณจะได้โทรศัพ์ที่ตอสวยระดับนึงเลยล่ะ คราวนี้จะไม่เห็นเม็ดพิกเซลมาเกะกะตาเท่าไหร่
โทนสีที่ได้ออกจะเรียบๆ
CPU ของ Sharp SH631W เครื่องนั้นจะเป็น Dual Core 1GHz ส่วน ROM/RAM 4GB/ 512 MB
กล้องหลังความละเอียด 8 ล้านพิกเซล พร้อม LED แฟลช
และกล้องหน้าแบบ VGA
ซึ่งในราคาไม่ถึงหมื่นก็ถือว่า Sharp ใจป้ำทีเดียวที่ให้กล้อง 8 ล้านพิกเซลมาด้วย
ด้วยความที่รุ่นนี้เน้นความบาง ฝาหลังก็เลยออกแนวบาง และกรอบอยู่ซักหน่อย
การเปิดฝาหลังใช้วิธีดันออกนะครับ ซึ่งบอกตรองๆว่า เอาฝาออกค่อนข้างยากมาก
ไม่เหมาะกับการถอดฝาหลังเข้าออกบ่อยๆซักเท่าไหร่
ส่วนการรองรับ 3G นั้น จะรองครับที่คลื่นความถี่ 900/2100 mHz
ฉะนั้นถ้าใช้ DTAC หรือว่า Truemove-H ตอนนี้คงหมดสิทธิ์
แบตเตอรี่ที่ติดเครื่องมาจะเป็นขนาด 1,650 mAh
ซึ่งจะประสบการณ์ที่ลองใช้กับซืม 3G ที่เป็น 2100 mHz ใช้งานได้ดีไม่มีปัญหา
แต่การใช้พลังงานค่อนข้างดุนิดนึง
Android ที่ติดมากับเครื่องของ Sharp SH631W เป็นเวอร์ชั่น 4.0.4
ด้วยความที่จุดขายของโทรศัพท์มือถือ Sharp เป็นเรื่องของ Feel UX
ก็เลยจะเน้นไปที่ปรสบการณ์ในการใช้งานตรงนี้สักหน่อย
เรื่องแนวคิดในการพัฒนา และที่มาจอง Feel UX ย้อนกลับไปอ่านได้ที่ Blog ก่อนหน้านะครัย
หน้าจอแรกของ Sharp SH631W ที่มากับ Feel UX การปาดตัวล็อก
จะแตกต่างกับเครื่อง Android ธรรมดานิดหน่อย คือทันที่ปาดคาไว้ จะปรากฎเมนูลัดคือ
กล้อง ,การโทรออก และข้อความ
และหน้าจอด้านบนที่เป็นภาพพักจอนั้นสามารถเลือกเปลี่ยนได้ 5 แบบ
ซึ่ง sharp เองก็ให้เหตุผลในการออกแบบว่า
อยากจะให้ผู้ใช้สามารถปรับเปลี่ยนรูปที่ชอบของตัวเองได้ง่ายๆ โดยที่ไม่ต้องถูกจำกัดมากนัก
ส่วนด้่านล่างจะเป้นการเรียกข้อมูลขึ้นมาดู ซึ่งเครื่องตัวอย่างเป็นข้อมูลตลาดหุ้นจากดาวโจนส์
ด้วยความที่ Fell UX มีการใช้คำสั่งในการปาดลากในหลายตำแหน่ง หลายทิศ
ในตัวเครื่องจึงต้องมีคำแนะนำการใช้ในจุดต่างๆ ว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง
ซึ่งตรงนี้เป็นการยืนยันว่า Sharp ทำตามสิ่งที่ผู้บริหารให้สัมภาษณณ์อยู่คือ
เค้าต้องการทำ Feel UX เพือให้มมือใหม่ใช้ง่ายแต่ มือเก่าก็สามารถปรับแต่งได้
มาดูที่หน้าจอหลักด้านในกันบ้าง รูปแบบของ Feel UX ก็จะคล้ายๆ กับ Android ทั่วไป
แต่จะต่างนิดหน่อยตรงรูปการแบ่ง ที่เพิ่มทางลัดขึ้นมาอีกคอลัมน์
และเมื่อกดค้างไว้ก็จะไปเรียกเมนูย่อยขึ้นมาคือ การเพิ่มทางลัด ,ข้อมูลเกี่ยวกับตัวแอพลิเคชั่น
หรือว่าถอนการติดตั้งแอพลิเคชั่น
อันที่ผมแอบอมยิ้มนิดนึงเกี่ยวกับการแปลเมนูภาษาไทย คือหน้า Home กับ Tutorials ถูกแปลว่าบ้านและกวดวิชา
เลย์เอาทของแอพพลิเคชั่นที่มีให้เลือกแบบ 3 คอลัมน์ และ 4 คอลัมน์
ส่วนเรื่องของธีมสีใน Fell UX มีชุดสีให้เลือกนิดหน่อย
หรือว่าเราต้องการเปลี่ยนฉากหลังก็สามารถเลือกรูปเปลี่ยนได้
การใช้งาน Feel UX UI นั้น ปากได้ทั้งซ้ายขวา และบนล่าง
ซึ่งมีตำแหน่งของ Widget และการตั้งค่าเรียงเอาไว้ในที่เดี่ยวกัน
ซึ่งใช้เวลาทดลองเรียนรู้การใช้นิดหน่อย
แต่ถ้าใครงงตำแหน่งของ Feel UX ในส่วนต่างๆว่าจะใช้ยังไง
ก็มี Tutorials สำหรับสอนการใช้งานตามตำแหน่ง
และถ้าใครรู้สึกว่าอยากกลับมาใช้หน้าตาแบบ Android ปรกติก็สามารถปิดการทำงานของ Feel UX ได้
ซึ่งอันนี้ถือว่าเป็นข้อดีในการออกแบบของ Sharp อย่างนึง
ส่วนแป้นพิมพ์นั้นเป็นของ Touchpal
ซึ่งมีความโดดเด่นในการของการป้อนข้อมูลแบบ Swipe และการเดาคำศัพท์
แต่คุณสมบัติพวกนี้จะเกิดมาเพื่ิอการใช้งานกับภาษาอังกฤษนะครั
ดูวิธีการใช้งานแป้นพิมพ์ Touchpal ที่มากับโทรศัพท์ Sharp SH631W กันนิดนึงครับ
อย่างที่บอกในตอนแรกคือ Sharp ทำ Android แบบเรียบง่ายมากคือถ้าปิด Feel UX
ฉะนั้นแอพลิเคชั่นที่มีมาก็จะมีเฉพาะที่จำเป็น
ความบันเทิงที่ติดมากับเครื่องนั้นเป็นวิทยุแบบทศนิยมหนึ่งตำแหน่ง สามารถบันทึกช่องสถานีโปรได้
และสามารถบันทึกรายการไว้ฟังย้อนหลัง รวมถึงการเล่นเพลงที่เป็นส่วนหนึ่งของหน้าแรกเมื่อเราเปิดใช้ Feel UX
Utility ที่ติดเครื่องมี 2 แอพคือ ตัวจัดการเรื่องของ Profile ซึ่งจะทำให้เราเลือกโหมดสำหนรับการใช้งานประจำวันง่ายขึ้นมานิดนึงอย่าง
โหมดประชุมที่จะเป้นการปิดเสียง และเปิดสั่น โหมดนอกสถานที่ โหมดการบินที่จะปิดสัญญาณโทรศัพท์แต่ใช้งานส่วนอื่นในเครื่องได้อยู่
และอีกหนึึ่งแอพลิเคชั่นคือ แอพสำหรับสำรองข้อข้อมูลที่จะจัดเก็บข้อมูลอย่างรายชื่อในสมุดโทรศัพท์ ลง SD Card
ในส่วนเรื่องของการถ่ายภาพนั้น Sharp SH631W
ตัวกล้องเป็นเหมือน Android ปรกติทั่วไป สามารถเลือกจุดโฟกัสของภาพ
ความละเอียดอยู่ที่ 8 ล้านพิกเซล
การตอบสนองเรื่องของการถ่ายภาพอยู่ระดับกลางๆ
ตัวอย่างภาพถ่ายจากโทรศัพท์มือถือ Sharp SH631W
สามารถดูตัวอย่างภาพถ่ายจากโทรศัพท์มือถือ Sharp SH631W ได้ที่ Fanpage นะครับ
ประสบการณ์การใช้ Sharp SH631W มาหนึ่งสัปดาห์
อย่างที่ย้ำไปตั้งแต่วรรคแรกๆ โทรศัพท์แบรนด์นี้มากับความคิดแบบญี่ปุ่นจริงๆเลย
คือเรียบๆ ดูดี ไม่หวือหวาอะไรมากนัก มือเก่าปรับแต่งได้ มือใหม่ใช้เวลาเรียนรู้ไม่นาน
คุณภาพกล้อง คุณภาพเสียงอยู่ในระดับกลางๆ
สิ่งที่ดูจะได้ดีกว่าแบรนด์ที่เราคุ้นๆกัน
ความลื่นไหลที่ดีกว่าแบรนด์อื่นที่มาก่อนในบางรุ่นที่ราคาไล่เลี่ยกัน
คือถ้าเน้นมาเพื่อซื้อไปใช้ในชีวิตประจำวันจริงๆ ก็จัดว่าใช้ได้อยู่
เท่าที่ทดสอยมาไม่เจอเรื่องแฮงค์ให้หนักใจ
ส่วนเรื่องของบริการหลังการขายนั้นก็อยู่ในการดูแลของ SiS Distribution
ราคาขายของ Sharp SH631W อยู่ที่ 9,450 บาท ซึ่งตั้งมาได้สวยทีเดียว
ถ้า Sharp SH631W เป็นเพื่อนเราสักคน คงเป็นเพื่อนที่นั่งหน้าเรี
ไม่ใช่คนหวือหวาเท่าไหร่ ไม่ใช่คนช่างพูด โลกส่วนตัวสูง ชอบอะไรเรียบๆ
โลกส่วนตัวค่อนข้างสูง แต่พอคุ้นเคยแล้ว ก็เพื่อนที่ไปไหนมาไหนด้วยอย่
ที่เหลือขึ้นอยู่กับว่าจะลองเปิดใจหรือเปล่า
ขอบคุณ SiS Distribution ที่เอื้อเฟื้อเครื่องในการทดสอบครับ