หลังจากที่ เอไอเอส ยืนอยู่ในสถานะผู้ให้บริการ 4G ที่มีคลื่นมากสุดในไทย
ล่าสุดก็มีการเคลื่อนไหว และประกาศตัวชัดเจนถึงความพร้อม
ที่ยกระดับประสบการณ์ความเร็ว พร้อมทั้งปรับเปลี่ยนโครงสร้างเทคโนโลยีเครือข่ายเพื่อเตรียมการรองรับ 5G ในอนาคต
เรามาลองย้อนดูลำดับ เหตุผลในการลงทุน พัฒนาการในช่วงที่ผ่านมา
และโค้งต่อไปที่เอไอเอสจะพาคนไทยเข้าไปใกล้เทคโนโลยี 5G ที่สุด เมื่อปัจจัยทุกอย่างพร้อม
สถานะของเน็ตเวิร์คเอไอเอสในปัจจุบัน
เอไอเอสมองเห็น พฤติกรรมการใช้ DATA และปริมาณการใช้เติบโตเพิ่มมากขึ้นในทุกปี
จึงต้องวางแผนเตรียมการณ์ล่วงหน้ามาโดยตลอด
จากข้อมูลคือ 3 ปีที่แล้วคือปี 2016 พฤติกรรมการใช้ Mobile Internet ของผู้ใช้ 1 คน จะมีอัตราการใช้ Dataโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 3.8 GB ต่อเดือน
มาดูตัวเลขถัดไปอย่างในปี 2017 อัตราการใช้อินเตอร์เน็ตของผู้ใช้ต่อเดือนกระโดดขึ้นไปที่อยู่ที่ 7.3 GB ต่อเดือนถ้านับแบบตัวเลขกลม ๆ ในใจ
เราจะเห็นว่ากระโดดมากขึ้นมาเป็นเท่าตัว นั่นเลยนำมาซึ่งตัวเลขที่มีการคาดการณ์กันว่าไตรมาส 3 ของปี 2018 นับรวมไปถึงสิ้นปี
อัตราการใช้อินเตอร์เน็ตของผู้ใช้ต่อเดือนน่าจะอยู่ที่อยู่ที่ 10 GB ต่อเดือน
เฉลี่ย 3 ปี อัตราการเติบโตของผู้ใช้จะเพิ่มมากขึ้น 3 GB ต่อปี
เมื่อผู้ใช้มีพฤติกรรมความต้องการต่อเนื่องขนาดนี้ ความถี่ที่มีในมือควรจะอยู่ที่เท่าไหร่ และจะต้องหามาเพิ่มอย่างไรให้เพียงพอ
ปัจจัยสำคัญหนึ่ง คือ ต้องเตรียมพร้อมขยาย Capacity รองรับปริมาณที่จะเพิ่มขึ้น
เรียกแบบภาษาทั่ว ๆ ไปว่า เตรียมท่อโล่ง ๆ ขนาดใหญ่ไว้ให้ข้อมูลจำนวนมากของผู้ใช้ได้มีที่เอาไว้สัญจร
นั่นก็คือการเคลื่อนไหวในระลอกแรกว่า ทำไมเอไอเอสถึงเขยิบ และลงทุนเพิ่มกับคลื่น 1800 MHz ที่เพิ่งประมูลเพิ่มอีก 10 MHz (5 MHz x 2) รวมกันเป็น 40 MHz (20 MHz x 2)
จนทำให้เกิดสิ่งที่เขาเรียกว่า “Super Block” เพราะมีคลื่น 1800MHz บล๊อคเก่า และใหม่อยู่ติดกัน
แบบ “ทอเต็มผืน ลื่นเต็มบล๊อก” นั่นเลยเป็นสิ่งที่เอไอเอสแตกต่างจากค่ายอื่น
คลื่น 1800 MHz จำนวน 40 MHz (20 MHz x 2) เป็นจุดเริ่มต้นของแผนกลยุทธ์ด้านเครือข่าย
ที่เอไอเอสต้องการให้มีช่วงคลื่นที่ติดกัน เพื่อส่งผลให้ 4G มีความเร็วยิ่งกว่า และสร้างข้อได้เปรียบในการพัฒนาต่อยอดเครือข่าย
ตามมาด้วยระลอกสอง กับความเคลื่อนไหวของคลื่น 2100 MHz ที่มีอยู่ในมือ
เป็นที่ทราบดีว่า คลื่นในมือทั้งหมดของเอไอเอส จำนวน 120 MHz มีที่มาจาก 2 ส่วน คือ ส่วนที่มาจากการประมูล จำนวน 90 MHz
(ประกอบด้วย คลื่น 900 MHz จำนวน 20 MHz, คลื่น 1800 MHz จำนวน 40 MHz, คลื่น 2100 MHz จำนวน 30 MHz)
และส่วนที่เป็นพันธมิตรกับ TOT ในการใช้โครงข่ายร่วม บนคลื่น 2100 MHz จำนวน 30 MHz
เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2561 ที่ผ่านมา เอไอเอสได้ประกาศนำคลื่น 2100 MHz ส่วนที่พันธมิตรกับ TOT จำนวน 30 MHz ที่เดิมให้บริการ 3G อยู่นั้นมาจัดสรรใหม่
โดยแบ่งมาให้บริการ 4G เพิ่ม จำนวน 20 MHz ทำให้จำนวนคลื่นที่ใช้สำหรับบริการ 4G ของเอไอเอส เพิ่มจำนวนขึ้นทันทีอีก 20 MHz จากเดิม จำนวน 80 MHz ก็เพิ่มมาเป็น 100 MHz
เปรียบแล้ว ก็เหมือนเป็นการเติมเชื้อเพลิงให้เน็ตเวิร์ก 4G ของเอไอเอส ทรงพลังขึ้น ส่งผลให้เครือข่าย AIS 4G โดยภาพรวมเร็วขึ้น 20-30 %
และรองรับ Capacityได้มากขึ้น 25% ซึ่งเริ่มกดปุ่มใช้งานแล้วในพื้นที่ที่มีการใช้งาน DATA หนาแน่น และจะทยอยทั่วประเทศในอีกไม่นาน
ถือเป็นความพยายามปรับเปลี่ยนกลยุทธ์เครือข่ายอยู่ตลอดแบบไม่หยุดนิ่งเรียกว่าใช้ลูกขยัน
ทำทุกอย่างเพื่อให้เครือข่ายสอดรับกับพฤติกรรมและความต้องการของผู้ใช้งานที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาเช่นกัน
การโยกคลื่น 2100 MHz TOT มาให้บริการ 4G เพิ่ม เพื่อพื้นที่ว่างที่กว้างกว่า
เรายกตัวอย่างเรื่องเล่าแบบบ้านๆ อีก
เอาง่ายๆ หลายจุดในกรุงเทพ ถนนก็พอสำหรับรถวิ่งได้สำหรับปัจจุบัน แต่มันอาจจะไม่พอต่อการเติบโตของผู้คนและชุมชนแถวนั้น
เหมือนวันแรกอาจจะสงสัยว่า แล้วจะสร้างรถไฟฟ้ากันไปอีกทำไมในที่ชุมชน
คำตอบที่เราจะรับรู้ได้ในอนาคตคือ ก็เพื่อให้มีช่องทางเพิ่มให้คนสัญจรได้ไวกว่า
และนำพาผู้คนไปถึงจุดหมายได้เร็วขึ้น เป็นการเกลี่ย ๆ คนออกไป
การจัดแบ่งคลื่น 2100 MHz ใหม่ในครั้งนี้ ก็คงคล้าย ๆ กัน
ฉะนั้นถ้าวันนึงคุณเห็นว่า หัวมุมบนหน้าจอโทรศัพท์ ขึ้นว่า AIS -T 4G นั่นก็คือมือถือกำลังจับสัญญาณเครือข่ายที่โรมมิ่งกับ TOT อยู่ ก็ไม่ต้องแปลกใจ เพราะไส้ในนั้นไซร้นั่นคือ AIS 4G เหมือนเดิม เพิ่มเติมคือทางที่โล่งขึ้น
AIS กับความพร้อมเรื่อง 5 G และ IOT
เวลาเราพลิกนิ้วคลิ๊กเมาส์เข้าไปอ่านข่าวไอทีที่ต่างประเทศ ก็จะเห็นประโคมข่าวกันโบ้ม ๆ ว่า ประเทศนั้น ประเทศนี้ทดลอง 5G กันแล้ว
แล้วเมื่อไหร่จะถึงตาเราบ้าง จะมีข้ออ้างอะไรให้เลื่อนอีกมั้ย เดี๋ยวก็มีข่าวลือว่าประเทศที่ไม่ไกลจากเรา เขาเอามาทดสอบกันแล้วนะครับ
เอาแบบนี้ครับ .. ก่อนจะมาดูแนวทางที่ เอไอเอสเขาวางไว้กับ 5G
มาดูสิ่งที่เป็นพื้นฐานโครงสร้างหลักของ 5G กันก่อน ว่าเขาคำนึงถึงอะไรกันบ้าง
eMBB (enhanced Mobile Broadband)
คือ การใช้งานในลักษณะที่มีการส่งข้อมูลความเร็วสูง ระดับกิกะบิตต่อวินาที (Gbps)จึงต้องวางระบบให้สามารถตอบสนองความต้องการการส่ง และรับข้อมูลปริมาณมากซึ่งจะมีเยอะขึ้นเรื่อย ๆ เช่น การอัพโหลด ดาวน์โหลดไฟล์ที่มีขนาดใหญ่ หรือ การทำ Live Streaming
mMTC หรือ (massive Machine Type Communications)
คือการใช้งานที่มีการเชื่อมต่อของอุปกรณ์จำนวนมากๆ ในพื้นที่เดียวกันและจะมีการเชื่อมต่อของอุปกรณ์จำนวนมาก แต่การใช้งานลักษณะนี้ จะเป็นการส่งข้อมูลปริมาณน้อย ๆ ที่ไม่ต้องการความเร็วสูง มักจะเป้นอุปกรณ์โดยทั่วไปที่ราคาไม่สูง
uRLLC หรือ Ultra-reliable and low latency communication
คือการใช้งานเชื่อมต่อที่มีเสถียรภาพและตอบสนองไว จนสามารถควบคุมอุปกรณ์ต่างๆในระยะทางไกลไม่ดีเลย์ทั้งภาพและเสียง เช่น การผ่าตัดคนไข้จากระยะทางไกล การใช้หุ่นยนต์ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมหรือพื้นที่เสียงภัย การใช้รีโมตควบคุมการก่อสร้าง การควบคุมรถยนต์ไร้คนขับ เป็นต้น
AIS เริ่มทำอะไรไปแล้วบ้างก่อนการมาของยุค 5G
อันดับแรก ในแกนของ EMBB ที่เน้นความเร็ว เราจะเห็นความพยายามของโอเปอร์เรเตอร์ในการนำนวัตกรรมมาต่อยอดเครือข่ายที่มีอยู่ให้เกิดความเร็วที่มากยิ่งขึ้นอยู่เสมอ เอไอเอสก็เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการร่วมมือพัฒนากับ partner ชั้นนำเพื่อพัฒนาอุปกรณ์ต่างๆให้รองรับการใช้งาน 4.5G, เปิดให้บริการ 4.5G ด้วยเทคโนโลยี Carrier Aggregation และ MIMO4X4 และ256QAM เป็นรายแรกของไทย, เทคโนโลยี FDD MASSIVE MIMO 32T32R, เปิดให้บริการ NEXT G ให้ควมาเร็วระดับ 1Gbps เป็นรายแรกของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ถัดมาในแกนของ mMTC ที่เน้นสนับสนุน IoT เราก็จะเห็นคำว่า Smart City หรือว่าเมืองอัจฉริยะ
เราจะเห็นคำว่า Self Driving Car เห็นคำว่า Smart Home Building ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องพึ่งพาการสื่อสารตลอดเวลา
การมาของยุค IOT สิ่งที่เครือข่ายต้องตระหนึกคือ 5G ความเสถียรในการรับส่งข้อมูล และมีความหน่วงที่ต่ำมาก
การมาของ 5G และ NB-IOT สิ่งที่มันยอดเยี่ยมมากคือ การที่สามารถรองรับการเชื่อมต่อได้มากถึง 200,000 – 1,000,000 เครื่องต่อตารางกิโลเมตร และยังลดปริมาณการใช้พลังงานในการเชื่อมต่อมากกว่า 90%
เรื่องพวกนี้อาจจะดูเหมือนสเปคในกระดาษ อ่าน ๆ มาถึงบรรทัดนี้อาจจะนึกว่านี่กำลังวาดฝันอะไรหรือเปล่า มาดูสิ่งที่มีการใช้งานจริงไปบ้างแล้วบางส่วนก่อน
ระบบที่จอดรถอัจฉริยะ ที่บอกว่าตรงไหนว่างบ้างโดยมีการติดต่อสื่อสารกับรถยนต์
เพื่อลดเวลาในการพยายามช่องจอดว่างๆ โดยเปล่าประโยชน์
ระบบมิเตอร์น้ำที่มีซิมในตัวเอง สามารถตรวจสอบยอดการใช้น้ำได้ตลอดเวลาผ่านอินเตอร์เน็ต ไม่ต้องเดินไปมุดข้างบ้านเพื่อเปิดดูตัวเลขวิ่ง ๆ ที่เราเองก็ไม่อาจจะเข้าใจ
ระบบแท็กซี่อัจฉริยะที่มีซิมในตัวเอง คนขับต้องใช้บัตรประจำตัวเพื่อทำการปลดล็อคสำหรับการขับรถ
ศูนย์แท๊กซี่จะสามารถรู้ตำแหน่งคนขับ รู้หน้าตาของผู้โดยสารที่ขึ้นรถมาผ่านกล้องด้านหลัง มีระบบฉุกเฉินแจ้งไปยังศูนย์แท๊กซี่กาศ
และการเปลี่ยนแท๊กซี่ให้เป็นสื่อโฆษณาเคลื่อนที่ ด้วยป้ายบนหลังคาโดยอิงพิกัดแล้วยิงโฆษณาที่เหมาะสมออกไปแบบที่เรียกว่า Geo Tagging
ในพาร์ทของ IoT เอไอเอสก็วางเครือข่าย IoT ทั้ง eMTC (enhanced Machine-Type Communication) และ NB–IOT (Narrow Band IoT) ครบทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศไปแล้ว เมื่อหลายเดือนก่อน
อันดับสุดท้าย ในแกนของ uRLLC ที่เน้นเรื่องการตอบสนองเร็ว และเสถียร เป็นอีกหนึ่งความเคลื่อนไหวสำคัญ ด้านกลยุทธ์เครือข่ายของเอไอเอส
ได้รุกขึ้นมาประกาศเปลี่ยน Core Network Architecture ใหม่เป็นครั้งแรกของเมืองไทย เรียกว่าปฏิวัติแบบแผนโครงสร้างเครือข่ายมือถือในไทยจากที่เคยมีมาในอดีตเสียใหม่
กล่าวคือ ได้มีการเริ่มต้นปรับโครงสร้างเครือข่ายหลักที่กระจายอยู่ในแต่ละภูมิภาค ให้สามารถสื่อสารตรงไปยังเซิร์ฟเวอร์บริการต่างๆได้ทันที โดยไม่ต้องย้อนกลับมาผ่านศูนย์กลางเครือข่ายในส่วนกลาง ซึ่งส่งผลให้เกิดอัตราการตอบสนองที่เร็วขึ้น เพราะค่า Latency ต่ำ เป็นความพยายามในการวางสถาปัตยกรรมเครือข่ายใหม่ ให้เข้าใกล้เทคโนโลยี 5G ที่สุดเท่าที่จะทำได้บนทรัพยากรและกำลังความสามารถที่มีอยู่
สิ่งที่ตามมา คือความหน่วงลดลง ผลลัพท์ของการเชื่อมต่อดีขึ้น และ บริการต่างๆ ที่มาเชื่อมต่อก็จะเร็วขึ้น
AIS กับ 5G และสิ่งที่กำลังจะเกิด
- การจะเปิด 5G โดยใช้คลื่นความถี่เดียว คงไม่สามารถทำงานได้ในทุกอย่าง เนื่องจากขึ้นอยู่กับความต้องการและลักษณะการใช้งาน ก็มีโอกาสที่ใช้คลื่นความถี่ต่ำ ที่ใช้งานอยู่แล้วเป็นตัวยื่นพื้น เนื่องจากความถี่ต่ำส่งสัญญาณได้ระยะไกล
- จากข้างบนที่ปรากฎการทำงานร่วมกับพันธมิตรหลายราย ซึ่งจะมีการนำเทคโนโลยี 5G มาทดสอบการใช้งานจริงในเดือนพฤศจิกายน
- ไม่ต้องห่วงจะว่ามาอย่างถูกต้องเป็นการลักไก่หรือไม่ เพราะได้ผ่านการพิจารณาจาก กสทช. แล้วเป็นที่เรียบร้อย
- Road Map ของไทยในการเปิดใช้ 5G อย่างเป็นทางการนั้นอยู่ที่ กสทช. พิจารณา
- ทางเอไอเอสยืนยันว่า มีความพร้อมต่อเรื่องนี้สูงมาก เพราะมีการศึกษาวิจัยเพื่อเตรียมรองรับเทคโนโลยีในอนาคต เช่น 5G อย่างต่อเนื่อง
- ในปี 2019 จะเป็นปีที่โทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ที่รองรับ 5G จะเริ่มเข้าสู่ตลาด
- สำหรับโทรศัพท์บางรุ่นนั้น อาจจะมีอุปกรณ์เสริมภายนอกเพื่อให้สามารถใช้บริการ 5G ได้ แต่ยืนยันว่าเราไม่ได้กลับไปในยุคโทรศัพท์มีเสายื่น ๆ นะ!
- ถ้าในอนาคต 5G มาจริง พื้นที่การให้บริการ 5G ก็จะเริ่มจากหัวเมืองใหญ่ก่อน แต่การมาของ 5G ก็ไมได้หมายความว่า 4G และ 3G จะหายไปเสียทั้งหมดนะครับ
- ใครที่ใช้เครื่องรุ่นเก่า ๆ ในพื้นที่ห่างไกล ก็อย่าเพิ่งตระหนกตกใจไป ว่าฉันต้องรีบวิ่งไปเปลี่ยนเครื่องอีกมั้ย ไม่ได้มากันเป็นการล้างบางขนาดนั้น
คลื่นความเปลี่ยนแปลงกำลังจะมาอีกระลอกแล้วครับ เอไอเอสเองก็ประกาศตัวในทิศทางใหม่ว่า ไม่ได้เป็นแค่ Mobile Operator แต่เป็น Digital Service Provider ของแบบนี้ใครขยับตัวก่อนก็ได้เปรียบทำไมถึงพูดแบบนั้น การมาของ 5 G จะเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้คน อุตสาหรรม และความเป็นเมืองอัจฉริยะ มีหลายสิ่งที่เป็นมากกว่า แค่การเชื่อมต่อทุกสิ่งอย่างด้วยโทรศัพท์มือถือ นอกจากจีนแล้วก็มีไทยนี่ล่ะ ที่กำลังเขยิบเข้าไปสู่การเป็นศูนย์กลางด้านนวัตกรรม
ตื่นเต้นได้ แต่ไม่ต้องตกใจในความเปลี่ยนแปลงว่าโลกจะหมุนไวไปกว่าที่เราจะตามทันหรือเปล่า เราก็แค่เลือกใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ไปตามปกติ เลือกเหมาะสมกับการใช้งานของตัวเอง ส่วนเรื่องเข้าใจยาก ๆ ที่ฉากหลัง ให้เป็นหน้าที่เอนจิเนียร์เขาดูแลระบบเครือข่ายในการเชื่อมต่อไปครับ