AIS ผลักดันการสร้างสังคม Digital กับ “อุ่นใจไซเบอร์” ยกระดับมาตรฐานความรู้เท่าทัน Digital ด้วย DQ (Digital Quotient) สำหรับเยาวชน และการพัฒนาระบบคัดกรอง Online Content ที่ไม่เหมาะสม ด้วยระบบ “AIS Secure Net (Beta Phase)” และ “Google Family Link” ที่เกิดจากความร่วมมือกับ Google
โครงการ“อุ่นใจไซเบอร์” มีเป้าหมายในการสร้างภูมิคุ้มกันรณรงค์ปลูกจิตสำนึกและสร้างเครื่องมือคัดกรอง Content ที่ไม่เหมาะสมจากโลก Digital โดยเน้นใน2 ด้านคือมุ่งส่งเสริมการเรียนรู้และสร้างทักษะทาง Digital (Educator) เพื่อให้เกิดการตระหนักรู้ควบคู่ไปกับการพัฒนาทักษะเพื่อให้ใช้ดิจิทัลอย่างรู้เท่าทัน และป้องกัน (Protector) ความเสี่ยงจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่าน Digital Solutions
การยกระดับมาตรฐานความรู้เท่าทันDigital ด้วยDQ (Digital Quotient)
AIS เป็นรายแรกและรายเดียวในไทยที่ได้นำเข้าDQ ชุดการเรียนรู้ 360 องศาเพื่อพัฒนาทักษะและความฉลาดทางดิจิทัลDQ ครบทั้ง8 ทักษะให้กับเด็กๆ สร้างภูมิคุ้มกันในการก้าวเข้าสู่โลกออนไลน์อย่างมีไหวพริบ รู้จักวางตัวอย่างเหมาะสมกับคนแปลกหน้าและใช้มือถือ
แท็บเล็ตอย่างฉลาดไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพซึ่งชุดการเรียนรู้นี้ได้รับการยอมรับและมีการนำไปฝึกทักษะให้กับเด็กๆมากกว่า 110 ประเทศทั่วโลกแปลถึง 21 ภาษาจาก 100 พาร์ทเนอร์
ขณะนี้ได้เริ่มขยายผลการสร้างทักษะความฉลาดทางดิจิทัล DQ (Digital Quotation) ไปสู่ภาคการศึกษาทั่วประเทศรวมถึงเปิดPortal ศูนย์กลางการเรียนรู้สำหรับคนไทยทุกคนที่โรงเรียนหรือสถาบันที่ทำงานเพื่อพัฒนาเยาวชนต่างๆสามารถเข้ามาใช้งานได้แล้ววันนี้ที่ www.ais.co.th/dq
การพัฒนาระบบคัดกรองOnline Content ที่ไม่เหมาะสม
เอไอเอสเปิดตัว AIS Secure Net (Beta) ที่จะช่วยป้องกันและคัดกรองเนื้อหาบนโลกออนไลน์ไม่ว่าจะเป็นเว็บ, ข้อความรูปภาพหรือวิดีโอที่ไม่เหมาะสมจากบุตรหลาน ในช่วงแรกนี้เอไอเอสจะเปิดให้ลูกค้าได้ทดลองใช้บริการเป็น Beta Phase
ซึ่งจะมีการเชิญชวนลูกค้าเอไอเอสที่สนใจอยากใช้บริการเข้ามาลงทะเบียนผ่านหน้าเว็บไซต์เพื่อร่วมทดลองใช้บริการก่อนใครจำนวน 10,000 คนแรก สามารถเข้ามาลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายน2562 และลูกค้ากลุ่มนี้ก็จะได้ทดลองใช้บริการ AIS Secure Net ได้ตั้งแต่วันที่4 กรกฎาคม 2562 เป็นต้นไป
นอกจากนี้ยังมีร่วมมือกับ Google ในการนำบริการ Parental Control ผ่านแอปพลิเคชั่น Google Family Link มาขยายผลสู่กลุ่มผู้ปกครองคนไทย (ใช้ได้ทุกเครือข่าย) ที่จะสามารถให้คำแนะนำดูแลการใช้งานโทรศัพท์รวมถึงดูแลความปลอดภัยจากพิกัดปัจจุบันของบุตรหลานได้ง่ายๆ โดยเอไอเอสมอบอินเทอร์เน็ต on-top สำหรับการใช้งานให้ลูกค้าเอไอเอสสามารถดูแลบุตรหลานของท่านได้อย่างสบายใจ
สถิติเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีของเยาวชนไทย
- ปี 2561เยาวชนไทยอายุระหว่าง 8 – 12 ปี มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตสูงถึง 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ซึ่งมากกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกถึง 3 ชั่วโมง
- ค้นพบว่าเด็กไทยขาดทักษะในการใช้งานดิจิทัลอย่างชาญฉลาด ทำให้เสี่ยงได้รับภัยอันตรายที่แฝงมากับอินเทอร์เน็ตใน 4 รูปแบบคือการถูกกลั่นแกล้งออนไลน์ (Cyber bullying) การเข้าถึงสื่อลามก ,การติดเกม และการถูกหลอกให้พบกับคนแปลกหน้า
- ปี 2561 มีรายงานว่าคนไทยทิ้งขยะอันตรายทั้งสิ้น 638,000 ตัน ซึ่งขยะส่วนใหญ่เป็นซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์สูงถึง 65% อีกทั้งของเสียอันตรายจากชุมชนเหล่านี้ ได้รับการจัดการอย่างถูกวิธีเพียง 83,000 ตันเท่านั้น