Tech!

รีวิว Clubhouse แอพโซเชียลมีเดียใหม่ ใช้การคุยด้วยเสียง

Clubhouse เป็นแอพลิเคชั่นแนวโซเชียลมีเดีย ที่มากับแนวคิดที่ว่า “Drop-in audio cha‪t” ใช้การคุยกันด้วยการส่งเสียง มีการเปิดตัวมาในเดือนธันวาคม ปี 2020 ผู้พัฒนาคือ Alpha Exploration Co.  และล่าสุดการประเมินมูลค่าสตอนนี้ขึ้นไปแตะตัวเลขที่หนึ่งพันล้านดอลลาร์ ซึ่งถือว่าเป็นแอพลิเคชั่นที่มีอัตราการเติบโตที่เร็ว และเป็นที่จับตามองของสื่อต่างประเทศ  และในบางประเทศถึงกับจับตาดูอยู่เพราะกลัวนำไปใช้ในแง่ฐานการเมืองก็เมืองก็มี เช่น ประเทศจีน เป้นที่ฮอตมากในญี่ปุ่นถึงกับว่ามีการหาซื้อขาย invite เพื่อให้ได้ลองใช้กัน!

วิธีขอ invite และวิธีส่ง invite ใน Clubhouse

  1. ตอนนี้แอพลิเคชั่นยังมีเฉพาะ iOS นะครับ ยังไม่มีบนแอดนดรอยด์
  2. การสมัครต้องได้รับการ invite หรือการเชิญเท่านั้น แต่เราสามารถเข้าไปจองชื่อก่อนได้ ซึ่งจะไปอยู่ใน Waiting List ของผู้ที่มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว
  3. ส่วนผู้ที่มีบัญชีอยู่แล้วสามารถ invite ได้ทันทีจากรายชื่อผู้ที่อยู่ในรายชื่อโทรศัพท์โดยข้อความจะถูกส่งไปยัง SMS
  4. ผู้ัใช้ทุกคนที่เปิดมาครั้งแรกเริ่มจะได้ 2 invite ครับ แต่เมื่ออยู่ๆไป คือมีกิจกรรมร่วมกับห้องอื่น มีการเชิญคนอื่นเข้ามาก็จะได้เพิ่มอีก 3 invite ครับ

การสร้าง Profile นั้นจะให้ใช้ชื่อจริงนามสกุลจริงนะครับ ส่วน Bio แนะนำให้ใส่ข้อความสั้นๆ สำหรับแนะนำตัวให้น่าสนใจ และคนทั่วไปจะได้รู้ว่า ดูมีความสนใจ หรือมีความสามารถ มีความเชี่ยวชาญด้านพิเศษหรือว่าทำอะไรอยู่ที่ไหน เพื่อที่จะทำให้คนตัดสินใจ Follow คุณง่ายขึ้น อย่างอันนี้เป็น Profile ของผมเอง ซึ่งการ invite ใครก็ต้องคิดดีๆ เพราะสามารถสืบได้ถึงต้นสายผู้เชิญเลย

หาห้องพูดคุยใน Clubhouse ยังไง

เอาจริงๆ มันก้คล้ายเราเดินไปในงานสัมนาแบบเปิดที่มีตารางของหัวข้อ ที่แ่ละคนอยากพูด แต่ละกลุ่มมีความสนใจต่างๆ กัน เช่น งาน BarCamp ที่เคยจัดในไทย ฉะนั้นวิธีที่ง่ายที่สุดคือ

  1. กด Explore เพื่อดูว่าตอนนี้มีกลุ่มไหนคุยอะไรกัน
  2. หากลุ่มตามความสนใจของตัวเอง เช่น ภาษา กิจกรรม วัฒนธรรม
  3. กดขอเข้าร่วมกลุ่มนั้นๆ เมื่อเขามีกิจกรรมก็จะเด้งขึ้นมาหน้ากลางเอง
  4. ลองกดชื่อเพื่อนเรา ถ้าเพื่อนเราอยู่ในกลุ่มไหนที่เขากำลังฟังอยู่แล้วเราอยากมีส่วนร่วม ให้กด  Join the Room they’re listening to  ซึ่งเราสามารถดูได้ครับว่าเพื่อคนไหนกำลังออนไลน์ เพื่อนคนไหนห่างจากหน้าจอไปนานแล้ว
  5. สร้างห้องขึ้นมาเองซะ กำหนดหัวข้อการสนทนากำหนดเวลาเริ่ม แล้วส่ง link ไปให้เพื่อนๆ ของคุณ ซึ่งผู้ได้รับ link จะสามารถบันทึกลง Calendar ได้

การสร้างห้องสนทนาใน Clubhouse

แอพลิเคชั่นนี้เน้นการสร้างสังคมการพูดคุยกันด้วยเสียงในหัวข้อเรื่องที่สนใจ เน้นสร้างเครือข่ายตามความสนใจ  ฉะนั้นเราต้องสร้างกลุ่มสร้างห้อง เพื่อรองรับผู้คนก่อน วิธีการก็ไม่ยากครับ

  1. กดที่ปุ่ม Start a room
  2. เลือกประเภทของห้อง
    Open คือห้องแบบเปิดว่าใครเข้ามาก็ได้
    Social คือห้องแบบเครือข่ายที่เชิญเช้ามา
    – Closed คือห้องปิด ไม่แสดงในด้านนอกของระบบ
  3.  Add a Topic เพื่อตั้งหัวข้อการสนทนาของห้องครับ

สถานะผู้พูดใน Club house

บทบาทในห้องสนทนาจะมีทั้งเจ้าของห้อง ผู้พูด และผู้ฟัง ซึ่งทั้งสามสถานะจะมีความแตกต่างกันในเรื่องสิทธิ์คือ

Moderator – ผู้คุมห้อง คุมกฎ สามารถตั้งสถานะให้คนอื่นเข้ามาเป็นผู้พูดได้ สามารถอนญาตให้คนฟังที่ยกมือมีโอกาสพูดได้
Speaker – ผู้ที่สามารถพูดได้ อยู่ในฐานะนักพูดหรือแขกรับเชิญของห้อง การพูดแต่ละครั้งไม่จำเป็นต้องยกมือ สามรถเปิด-ปิดไมค์เพื่อพูดได้ทันที
Listener – ผู้ฟัง ถ้าจะกดพูดต้องยกมือแล้วรอให้ Moderator  อนุญาตเท่านั้น

การป้องกันคนป่วนหรือตัวร้ายนั้น มีระบบที่เรียกว่า Shared blocklist คือถ้าผู้ใช้คนไหนถูกแบนเยอะๆ จาากผู้ใช้ จะมีเครื่องหมาย ! อยู่ที่โปรไฟล์ แบบนี้ก็ให้ห่างไปไกลๆ ครับ
สำหรับผู้ใช้ที่เราคิดว่าทำตัวไม่เข้าท่าในห้อง ให้กดที่ Profile จากนั้นจะเด้งหน้า pop up ขึ้นมา เพื่อแจ้งข้อหาซึ่งมีทั้ง Block , Report for trolling , Report in incident

สรุป .. เอาไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง

คือแอพลิเคชั่นนี้เน้นการสร้างสังคมการพูดคุยกันด้วยเสียงในหัวข้อเรื่องที่สนใจ เน้นสร้างเครือข่ายตามความสนใจ  ถ้าเอาไว้เน้นรวมกลุ่มคุยกันเองเล่นๆ อันนั้นแนะนำว่าใช้ Line Group Call คุยกันได้ครับ  ถึงแอพจะให้เราสร้างห้องจับกลุ่มกันเองได้ก็ตามที  ตัวกิจกรรมสนทนาเมื่อการคุยสิ้นสุดลงการพูดคุยในห้องก็จะหายไปนะครับ เหลือไว้แต่ Group ที่ยังอยู่

ซึ่งจากที่เราเห็นการใช้ อย่างรายการวิทยุในญี่ปุ่นก็มีการเล่นเกมกิจกรรมพูดคุยกับคนฟังในช่วงสั้นๆ    ถ้าถามว่าขายของได้มั้ยอาจจะไมไ่ด้เหมาะเพราะมันไม่สามรถ track ย้อนหลังได้ หายแล้วคือหายเลย แต่ถ้าเป็นรวมกลุ่มเข้ามาฟังในช่วงระยะเวลาหนึ่งอันนั้นก็มีความเป็นไปได้ เช่น ฟังการสวดมนต์ เล่าประสบการณ์ในเชิงการสอนการอบรม ตัวอย่างที่ผมเจอของฝรั่งเช่น การรวมกลุ่มของผู้ที่เชื่อในพลังจักกระ กลุ่มธุรกิจ กลุ่มการตลาดออนไลน์ก็มี หรือว่าจะเข้าไปกลุ่มต่างชาติเพื่อฝึกพูดภาษาต่างประเทศ

สมัครดีมั้ย  .. บรรยากาศในการคุยอันนี้แล้วแต่ Host และ Co-Host ครับ ถ้าเป็นคนที่มีทักษะการพูดก็คงดึงบรรยากาศได้  บรรยากาศในการพูดคุยในห้องนี่สำคัญครับ คือระบบนี้ไม่มีใครสามารถพูดแทรกได้ ถ้าไม่มีการกดไมค์ ไม่มีการยกเมือ

เอาจริงๆ ห้องคนไทยยังน้อยมากครับ คือคนไทยที่เข้ามาคือคนที่เป็นสายเทค สายคอนเทนต์ สายการตลาด ที่เป็นผู้ใช้ Social Media ตัวเอ้ๆ เลยคือ มีอะไรใหม่ฉันกระโดดใส่หมด เหมือน Twitter ในไทยยุคแรก  ฉะนั้นบทสทนาหลักคือภาษาอังกฤษ รองลงมาก็ญี่ปุ่น

แต่บทสนทนาที่ไม่สนุกก็มี เช่น ในห้องที่ผลัดกันยกมือเพื่อรอพูด แต่การที่ Host บางคนหยิบเอาคนรู้จักในห้องแบบ “อ้าว..คนนี้เรารู้จัก มาๆ เชิญขึ้นมาพูดเลย” แบบนี้มันก็ทำให้รู้สึกได้ว่า “อ้าว..แล้วจะยกมือทำไม ให้รอคิวทำไม ตั้งกลุ่มสาธารณะทำไม”
เมื่อไหร่ถ้ารู้สึกไม่สนุก ไม่มีส่วนร่วมกับห้องนั้นก็กด Leave quietly ออกมาจากเงียบๆ พอครับ

คุณสามารถดาวน์โหลดแอพลิเคชั่นได้ที่นี่ https://apps.apple.com/us/app/clubhouse-drop-in-audio-chat/id1503133294
ส่วนเว็บไซต์ของผู้พัฒนาสามารถเยี่ยมชมได้ที่นี่ครับ  https://www.joinclubhouse.com/

jetboat

Jetboat is a Bangkok-based tech blogger and has more than ten years of blogger sence in Thailand Specializes in mobile application , tech industries , security ,gadget, mobile marketing ,social network.

Related Articles

Back to top button