Mistubishi Xpander Cross กับการกลับมาใหม่ที่เปลี่ยนจากการเป็นรถยนต์สำหรับครอบครัว 7 ที่นั่ง เขยิบมาอยู่ในฝั่งของรถยนต์ 7 ที่นั่งสำหรับครอบครัวที่อยากออกไปเผชิญโลกกว้าง วางตัวและหัวใจไม่ไกลจากธรรมชาติ ไปได้ในทุกที่
ใจอยากจะไปในวันหยุด ราคาเริ่มต้นที่ 946,000 บาท
การทดสอบครั้งทางมิตซูบิชิประเทศไทย พาเราขึ้นไปทดสอบถึงหวัดเชียงรายนัยว่าเป็นความท้าทายสมรรถนะ และทดสอบการก้าวข้ามขีดจำกัดของตัวรถให้เกิดการจดจำการเปลี่ยนแปลงใหม่ที่ต่างไปจากภาพจำเดิมๆ การออกแบบที่มีสไตล์ดุดันมากขึ้น ทำให้หลายคนต้องมองด้วสายตาที่เปลี่ยนไปคือมีความ สปอร์ตและดูโฉบเฉี่ยวมากขึ้น เมื่อเทียบกับรุ่นเดิมที่วางตำแหน่งของรถครอบครัว 7 ที่นั่งสำหรับวิ่งทางดำ ขณะที่ Expander ภาพจำของรถที่แตกต่างกับรถคันอื่นในกลุ่มช่วงราคาเดียวกัน
การออกแบบตัวถังด้านหน้า ช่วยลดความรุนแรงจากแรงกระแทกของรถที่เกิดขึ้นกับคนเดินถนน หากเกิดอุบัติเหตุ
ปรับภาพมาเป็นทรงลุยแบบนี้ ความสูงจากใต้ท้องอยู่ที่ 220 มม. คือจะเรียกว่าเป็นรถที่ค่อนข้างสูง คือก็ไม่ได้เตี้ยระดับเก๋งเลย คือทำมาสำหรับขับบนทางหิน ทางกรวดระดับเริ่มต้นได้พอประมาณ ลุยน้ำท่วมในเมืองได้นิดหน่อย ในการทดสอบของเราวันนี้คือเน้นไปที่ทางกรวดทางฝุ่นครับ ซึ่งตัวชิ้นอะไหล่จะเป็นรุ่นเดียวกับตัวก่อนหน้า ซึ่งทางเจ้าหน้าที่บอกกับเราว่ามีการปรับสูตรการแต่งให้แน่นหนึบ นุ่มนวล เกาะถนนมากขึ้น
มีอะไรบ้างในห้องโดยสาร Mistubishi Xpander Cross
มุมมองด้านหน้าจากทั้งฝั่งคนขับ หรือว่าผู้โดยสารตอนหน้า ที่ผสานแนวคิดการออกแบบ Horizontal Axis ขอบอกว่ามีมุมที่เหลือเฟือเอามากๆ คือให้ทัศนวิสัยที่ดีทีเดียวสำหรับการขับขี่ คือด้วยความกว้าง และลาดลงทำให้เให้เรามองข้างหน้าได้ถนัดตา และช่องว่างด้านข้างเสานั้นก็ใหญ่มากพอสำหรับการมองอย่างปลอดภัย ส่วนตัววัสดุตรงคอนโซลรถยังคงเป็นแบบเดียวกับรุ่นก่อนหน้าครับ
ห้องโดยสารเป็นแบบ 7 ที่นั่ง สีทูโทน ดำ-น้ำเงิน พื้นที่ภายในจัดว่ากว้างขวาง ตอบโจทย์สำหรับการใช้งานหลายแบบเผื่อจัดสรรพื้นที่เอาแบบที่คุณชอบ แอร์มีด้านบนทั้งฝั่งคนขับ ทั้งสำหรับผู้โดยสารด้านหลัง
ในส่วนช่องว่างของศรีษะ ถ้าคุณเป็นคนที่ส่วนมาตรฐานด้านบนนี่คือเหลือพื้นที่ให้พอสมควร ในเรื่องของเบาะนั่งนั้นไม่ต้องปรับตัวอะไรกันมากจัดว่านั่งสบายพอสมควร ส่วนเบาะนั่งฝั่งคนขับการปรับแต่ไม่ได้มีกลไกอะไรนักนอกจากปรับเข้าออกด้วยมือบนรางเบาะตามปกติ
ในส่วนของพวงมาลัยนั้น ที่มีแนะนำว่ามีการออกแบบใหม่ เราคิดว่าการรื้อแล้วออกแบบใหม่ในครั้งนี้คือดีกว่าครั้งที่แล้วมาก คือถ้าให้เรามองแบบคนสายเทคคือของเดิมมันควรจะไปอยู่บนพวงมาลัยเกมบังคับรถที่ใช้เล่นกับ PC แต่อันนี้แหล่ะที่ควรจะเป็นพวงมาลัยที่ใช้ในรถจริง และเราชอบมาก!!
พวงมาลัยจากการขับจริงเราพบว่าค่อนข้างไวและบังขับได้คม น้ำหนักไม่เยอะ หมุนนิดๆ ก็ไปแล้ว แต่จะมีการปรับน้ำหนักนิดหน่อยในช่วงที่มีการจับตอนี่ใช้ความเร็วสูงๆ ให้ความรู้สึกที่หนักแน่นขึ้น ส่วน SRS AIRBAG จะมีให้เฉพาะผู้โดยสารด้านหน้า และผู้ขับเท่านั้น
สิ่งที่อยู่บนพวงมาลัยนั้นเป็นสวิตซ์ควบคุมระบบเครื่องเสียง ,ปุ่มรับสาย-วางสายโทรศัพท์ และระบบ Cruise Control บนพวงมาลัย สัมผัสของการกดปุ่มนี่หนักแน่นตอบสนองทันใจ ตอนที่กดเลือกใช้ตอนขับรถแล้วรู้สึกมั่นใจ ปุ่มไม่ก๊อกแก๊กแบบกดไปแล้วมันจะเด้งใส่หน้ารึเปล่า
ในส่วนของแผงประตูข้าง และปุ่มควบคุมกระจกนั้นยังเป็นแบบรุ่นเดิมครับ คือมีปุ่มสำหรับควบคุมการล็อคจากฝั่งคนขับ รวมถึงการเลื่อนขึ้นลงขอบหน้าต่าง มีลาย kevlar ให้ดูมีความสปอร์ตเพิ่ม
ถึงประตูด้านในมันจะดูจืดๆ ไปหน่อยแต่ข้างในมีการปรับเรื่องการรักษาความปลอดภัยที่ดีขึ้น และสิ่งที่เรารู้สึกได้คือ “เสียงรบกวนด้านนอกมันน้อยมาก” ซึ่งเขาจัดการเรื่องนี้ได้ดีสมกับที่นำเสนอ เผื่อใครอุ้มลูกจูงหลานที่หลับหลังทานนมจะได้ไม่ต้องฟังเสียงน้องร้องร้องจ้าเพราะเสียงข้างๆ ดังจนนานแล้วตื่น
หน้าจอระบบสัมผัสขนาด 9 นิ้ว พร้อมรองรับ Bluetooth, Apple CarPlay และ Android Auto นั่นดูเป็นข้อดีที่เราพบ คือดีล่ะสำหรับความพร้อมการใช้งาน .. แต่มันมีคำว่าแต่อยู่
หน้าจอระบบสัมผัสขนาด 9 นิ้ว พร้อมรองรับ Bluetooth, Apple CarPlay และ Android Auto นั่นดูเป็นข้อดีที่เราพบ คือดีล่ะสำหรับความพร้อมการใช้งาน .. แต่มันมีคำว่าแต่อยู่
เราพบว่าจอนี้ตอบสนองค่อนข้างเกินกว่าที่เราจะใช้แล้วรู้สึก “ลื่นติดนิ้ว” เราแอบรู้สึกว่าเหมือนเราย้อนกลับไปใช้ แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา แต่แผงปุ่ม Navigation ด้านล่างตอบสองในระดับพอใช้นะครับ คือถ้าใช้แค่ดูเพลงบนจอที่เชื่อมต่อผ่าน Bluetooth แล้วใช้งานแบบไม่คาดหวังมากก็ไม่เรื่องพะรุงพะรังชีวิตเท่าไหร่ ส่วนเรื่อง Graphic UI เราคาดหวังว่าเขาจะปรับใหม่ในรุ่นถัดๆ ไป
ส่วนการเชื่อมต่อด้วย USB นั้น ตอนที่เราไปทดสอบสอบเขาก็มีคำแนะนำว่าให้ใช้ “สายแท้เท่านั้น” จริงๆ ก็ไม่ใช่คำแนะนำที่ผิดนะครับ คือสายชาร์จที่เป็น 3rd Party ก็ใช้ได้แต่ต้องเป็นแบรนด์ที่อยู่ระดับดีหน่อย อย่างของฝั่ง Apple ก็ควรต้องเป็นสายที่รองรับ MFI ครับ
ในส่วนของการปรับแอร์นั่นยังใช้เป็นแบบอนาล็อก ทั้งในส่วนของการไหลเวียน การปรับความอุ่น การปรับอุณหภูมิความเย็น ส่วนการปรับขึ้นลงใช้สวิทช์ดันขึ้นดันลง รวมถึงความแรงของพัดลมด้วยครับ
ระบบเกียร์อัตโนมัติ ECO DYNAMIC CVT และมากับระบบเบรกมือไฟฟ้าทำงานอัตโนมัติ ที่เป็นระบบ Brake Auto Hold ซึ่งระบบเบรกมือควบคุมด้วยไฟฟ้าอัตโนมัติ จะทำงานเมื่อเลื่อนคันเกียร์ไปที่ตำแหน่ง “P” และจะปลดล็อกอัตโนมัติเมื่อเลื่อนคันเกียร์ออกจากตำแหน่ง “P”
ซึ่งระบบ BRAKE AUTO HOLD เพียงกดปุ่ม AUTO HOLD ให้ระบบเริ่มทำงานเมื่อคุณเหยียบเบรกเพื่อให้รถหยุดนิ่ง จนไฟเขียวแสดงบนหน้าปัด (ขณะที่เกียร์อยู่ในตำแหน่ง “D” หรือ “N“) ระบบจะทำงานและทำให้หยุดโดยไม่ต้องเหยียบเบรกค้างไว้ ระบบจะคลายเบรกอัตโนมัติเมื่อเหยียบคันเร่ง ซึ่งเพิ่มความสะดวกสบายสำหรับผู้ขับแม้ว่าจะอยู่ในสภาวะรถติด และสำหรับการขับขี่ที่ดุดัน หรือเร่งให้ทันใจมากขึ้นยังมีโหมด “Sport” ที่ใช้การกดที่คันเกียร์ด้านขวาครับ
ในส่วนของระบบความปลิดภัยนั้นมีระบบกล้องมองหลัง มีระบบตรวจสอบความปลอดภัยรอบคัน มีระบบแจ้งเตือนมีมีคนเดินตัดผ่านมาด้านหลัง คือตัวรถอาจจะดูเหมือนยาวเพิ่มมานิดหน่อยแต่พอมีกล้องส่องด้านหลังแบบนี้นี่อุ่นใจแน่นอนครับ
ลองขับจับพวงมาลัย Mistubishi Xpander Cross
ด้วยขุมพลังด้านในตามเสปคเป็นเครื่องยนต์เบนซิน DOHC MIVEC 16 วาล์ว1.5 ลิตร ให้กำลังสูงสุด 105 แรงม้า ที่ 6,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 141 นิวตัน-เมตร ที่ 4,000 รอบ/นาที พร้อมระบบวาล์วแปรผันด้านไอดี MIVEC (Mitsubishi Innovative Valve Timing Electronic Control System) คืออัตราการเร่งถ้าจะให้ประหยัดน้ำมันก้สามรถตั้งค่าสั่งการตัวรถให้สลับไป ECO ได้ ส่วนการออกตัวนั้นออกกันไปแบบเรียบๆ จังหวะแซงพอมีเรี่ยวแรงไม่ถึงกับดึงแล้วหลังติดเบาทะเลาะกับคนข้างๆ ระหว่างขึ้นทางสูงชันมันก็ไปได้อยู่
จากที่เราทดสอบในขับขึ้นดอยพละกำลังนี่พอเหลือๆ ครับอาจจะไม่ได้หวือหวาพาซิ่งมากนัก เว้นแต่ว่าถ้าต้องการอัตราเร่ง หรือขึ้นที่ชันมากหน่อยต้องตบเกียร์เข้าที่ DS เพื่อมีกำลังในการฉุดตัวเองขึ้นไป ส่วนพวงมาลัยนั้นจัดว่าควบคุมได้ดีในทางโค้ง ในการทดสอบมีช่วงจัวหวัที่เราถูกรถสวนเลนฝั่งตรงข้ามพยายามล้ำเข้าเส้นเข้ามาในฝั่งของเรา หรือแม้กระทั่งรถที่แซงเราขึ้นมาในทางแคบชัน และมีความพยายามกั้กเลนเราตลอด ซึ่งเหมือนบททดสอบการควบคุมบนถนนไปในตัว จากสองเรื่องนี้ก็พอทำให้เราเชื่อว่ารถคันนี้ฝากชีวิตไว้ได้ แม้จะมีจังหวะช็อคฟีลไปบ้างจากเพื่อนร่วมทาง
ถึงจะเป็นรถยนต์แบบ 7 ที่นั่งสำหรับครบครัว แต่ก็ยังอุ่นใจในเวลาที่ขับในการขึ้นทางชันด้วยระบบ Hill-start Assist Control (HAC) ในการทดสอบของเรา คือมีด่านทดสอบที่ใช้การขับขึ้นทางชันแล้วปล่อยค้างไถลกลางทางแบบนั้น ซึ่งระบบจะทำการล็อคล้อไว้ให้รถจะไม่ไหลลงมาครับ หน้าที่ของเราคือค่อยเติมคันเร่งขึ้นไป ซึ่งก้ทำให้เราควบคุมรถในทางชันได้่ายขึ้น ไม่ต้องพะวงเรื่องการไหลของรถ
เบื้องหลังการทำงานของ AYC
AYC (Active Yaw Control) ที่รถเขาใส่มานั้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าโค้งและการยึดเกาะถนนโดยใช้เฟืองท้ายที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ โดยตรวจจับจากความแตกต่างของแรงบิดระหว่างล้อหลัง และเปลี่ยนแรงบิดระหว่างล้อหลัง บังคับทิศทางรถไปในทิศทางที่ต้องการ ทำให้เกิดช่วงเวลาการเลี้ยวในทิศทางที่เหมาะสม และแก้ไขการหักเหของยานรถในขณะเคลื่อนที่ ซึ่งเบื้องหลังคือระบบควบคุมการทรงตัวแบบไดนามิกที่รักษาอัตราเร่งในแนวยาว และปรับปรุงเสถียรภาพด้านข้างโดยการควบคุมแรงบิด
ผลลัพท์คือการบังคับที่ดีขึ้นบนพื้นผิวที่ไม่เรียบ เช่น หิน กรวด และหิมะ โดยคงความความเร็วในการออกจากโค้งที่ดีขึ้น และมีความความเสถียรที่มากขึ้นทำให้รถปลอดภัยยิ่งขึ้น เมื่อเทียบกับรถที่ไม่มีระบบนี้จะมีความเสี่ยงเนื่องจากมีโอกาสที่จะเสียการควบคุม และรถจะหมุนออก
ถ้านั่นคือทฤษฎีแล้วระบบทำงานจริงทีกี่กิโลเมตรล่ะ
จากสเปคที่ให้มาคือถ้าเข้าโค้งที่ 15 กิโลเมตรต่อชั่วโมงระบบก็จะทำงานแล้ว แต่ในความจริงนั้นผมทดสอบไปสองรอบ คือรอบแรกเข้าโค้งแล้วหักพวงมาลัยที่ 20 กิโลเมตรหน้าจอยังไม่เปลี่ยนครับ จนมารอบสองที่มี instructor นั่งมาด้วย ก่อนเหยียบคันเร่ง ทางนั้นบอกว่า “ต้องเติมครับ”
แหม่ .. คำว่า “ต้องเติม” นี่มันหลายความหมายนะ! แต่นี่คงหมายถึงเติมคันเร่งแหล่ะ !!!
ผมเลยเติมไปซะ 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เข้าไปที่ตรงป้ายแล้วแล้วหักเลี้ยวซ้ายแบบไม่ชะลอ ไม่แตะเบรคอะไรทั้งนั้น เท่านั้นล่ะครับ ระบบแสดงแดงบนหน้าจอว่าล้อเราเสียหลักและระบบทำงานให้เรียบร้อย!!! แต่เอาจริงพอถึงเวลานั้นก็ไม่ได้รู้สึกว่าท้ายปัด รู้สึกว่าไถลอะไรนะครับ ก็ขับกลับเข้าเลนแบบปกติ
แต่เอาจริงๆ ถึงไม่ได้เปิดหน้าจอระบบเขาก็ทำงานอัตโนมัติอยู่แล้วล่ะครับ แต่การมีหน้าจอมันทำให้เราเห็นเต็มตาว่าระบบทำงานตอนไหน ในชีวิตจริงบางทีเราอาจจะไม่ได้อยากอยู่ในสภาวะนั้นเพราะมันไม่ได้ลุ้นสนุกเหมือนตอนทดสอบ
ซื้อดีมั้ย Mistubishi Xpander Cross
Expander Cross สไหรับเราคือเขาให้ความคุ้มค่ากับเงินที่จ่าย พร้อมคุณสมบัติมากมายและในราคาที่แข่งขันกับตลาดได้ เป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับครอบครัวที่ต้องการรถยนต์ที่กว้างขวาง และวางใจได้โดยไม่ต้องกลัวเสียเงินไปเปล่าๆ ที่นั่งสามแถว และภายในที่กว้างขวางพอสำหรับสามารถรองรับผู้โดยสารได้สูงสุดเจ็ดคน ที่นั่งมีความสะดวกสบายและมีพื้นที่ศีรษะ พื้นที่วางขากว้างขวางพอสำหรับผู้โดยสาร
จากที่เราลองทดสอบในทางฝุ่นด้วยช่วงล่าง และระบบกันสะเทือนที่เขาว่าได้รับการพัฒนาและปรับปรุงใหม่ ให้ความนุ่มนวล ยึดเกาะถนนได้เป็นอย่างดีพอสมควรในทางหินขรุขระ ในการทดสอบวิ่งลงเขาอาจจะมีเหิรน่อนบ้างในบางจังหวะ ก็ยังไม่แนะนำให้วิ่งลงมาด้วยการใช้ความเร็วสูงเกินความสามารถของรถ ส่วนทางฝุ่นทั่วไปสามารถมั่นใจนใจได้ว่ารถจะพาคุณไปได้แบบไม่ต้องจอดรถข้างถนน
ถ้าถามถึงอะไหล่นั้นคือมีการยืนยันกับเราว่าใช้พาร์ทชุดเดียวกัน ซึ่งถ้าคุณดูภาพจากเว็บนี่ก็ภาพเดียวกันแต่ทางตัวแทนมิตซูบิชินั้นกล่าวกับเราว่าแตกต่างกันไปในเรื่องของปรับแต่งในเรื่องของช่วงล่างให้แน่นหนึบมากขึ้นถึงแม้ว่าจะถูกสร้างมาเพื่อเป็นรถที่ผจญภัยได้ สำหรับเราคงเป็นให้คำนิยามว่า “พ่อบ้านหัวใจขับสี่ ที่เมียไม่ให้ซื้อ 4WD” หรือพวกสายลุยวันหยุดที่พาลูก พาครอบครัวไปมุดต้นไม้หายใจกับธรรมชาติ ฉะนั้นถ้าใครจะถามว่าเอาไปใส่ยางหนามได้มั้ย ก็คงต้องถามกลับไปว่าจุดยืนเขาชัดเจนมาแต่แรกแล้ว ถ้าตั้งใจลุยกว่านี้คือมี triton ยืนโดนเด่นในตลาดอยู่แล้ว คงไม่เอามาทับทางกัน ถ้าเราจะอยากได้ข้อปรับใหม่อยู่อย่างเดียวคือ infotainment ในรถนี่แหล่ะ
ขอบคุณ Mitsubishi Thailand ที่เอื้อเฟื้อโอกาสในการทดสอบครับ