การใช้แท็บเล็ตในโรงงานอุตสาหกรรม องค์กร อู่ซ่อมรถการทหาร ขอนส่ง และงานที่ต้องปฎิบัติการนอกสถานที่
นั้นย่อมต้องการความแข็งแรงกว่าแท็บเล็ตแบบธรรมดา ทั้งการป้องกันการตกกระแทก การป้องกันการเปียกน้ำ
การทนทานแต่อุณหภูมิหนาวเย็นแบขติดล จึงเป็นที่มาของแท็บเล็ตอย่างPanasonic Tough Pad FZ-M1
ย้อนรอยความเป็นมาของตระกูล Tough Pad
ย้อนหลังไปเกือบๆ 20 ปี Panasonic ทางค่าย Panasonic
ได้เริ่มทำการตลาดสินค้าในตระกูล Tough Pad กัน
ในปี พ.ศ. 2539 โลกก็ได้เห็นผลิตภัณฑ์ IT ที่แข็งแกร่งไม่เหมือนใครมาอย่างต่อเนื่อง
และในปี 2557 ค่าย Panasonic ก็ยังยึดมั่นในจุดแข็งของสินค้าของตระกูล Tough Pad
จึงได้ส่ง Panasonic Tough Pad FZ-M1 ซึ่งเป็นแท็บเล็ตพันธุ์อึดขนาด 7 นิ้วรุ่นใหม่
ที่มากับระบบปฎิบัติการ Windows 8
Panasonic Tough Pad FZ-M1 ภาคฮาร์ดแวร์
แท็บเล็ต Panasonic Tough Pad FZ-M1 มากับระบปฎิบัติกการ Windows 8.1 Pro
โดยใช้โปรเซสเซอร์เป็น Intel Core i5 Generation 4th น้ำหนักอยู่ที่ 540 กรัม และความหนา 0.7 นิ้ว
หน้าจอขนาด 7 นิ้ว WXGA (1280×800) ความสว่าง 500 nit
สามารถมองเห็นได้ในที่แจ้ง รองรับการสัมผัสพร้อมกัน 10 จุด และสามารถสวมถุงมือใช้งานได้
ส่วนเรื่องการแสดงผลเป็น Intel HD Graphic 4200 ป้องกันแสงสะท้อนสำหรับมองในที่โล่งแจ้ง
ซึ่งจากที่เราลองถือดู คือด้วยความที่เป็นขอบยางนี่ล่ะทำให้รู้สึกว่าน้ำหนักมันไม่เบาเท่าไหร่
เมื่อเทียบกับแท็บเล็ตที่เน้นความความบาง แต่ก็ยังถือได้ด้วยมือเดียวโดยไม่เมื่อยมือนัก
ซึ่งแท็บเล็ต Panasonic Tough Pad FZ-M1 ผ่านมาตรฐาน MIL-STD-810-G และ IP65 ทนการตกกระแทกที่ 5 ฟุต
ผู้เขียนเคยได้พบผู้บริหารของ Panasonic ในไทย
เขาเคยท้าให้ลองปาลงพื้น ผลที่ตามมาคือยังสามารถหยิบมาใช้ต่อได้เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
Panasonic FZ-M1 ความจุพื้นที่ภายใน 128GB SSD RAM 4GB หน่วยความจำภายนอกจะรองรับ micro SD SDXC
ส่วนเรื่องการเชื่อมต่อแบบไร้สาย จะรองรับมาตรฐาน WiFi 802.11 a/b/g/n Bluetooth 4.0 USB 3.0
ส่วนด้านล่างของ Panasonic Tough Pad FZ-M1 ที่เห็นเป็นแผงแบบนี้ คือจะมี Docking เสียบต่างหาก
เพื่อการชาร์จที่รวดเร็ว และสามารถใส่แบตเตอรี่ก้อนที่สอง แต่จะเป็นอุปกรณ์เสริมที่ต้องซื้อแยกต่างหากนะครับ
ด้วยความที่เป็นแท็บเล็ตเฉพาะด้านนี่ล่ะครับ ทาง Panasonic ก็เลยมีอุปกรณ์เสริมต่างหาก
อาทิ GPS ,Ethernet Port , Serial Port, NFC ,Barcode Reader , RFID
ส่วนเรื่องของการใช้ในอุณหภูมิที่แตกต่างกันสุดขั้วนั้น
Panasonic FZ-M1 สามรถใช้ได้ในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิ -10 องศาเซลเซียส จนถึง 50 องศาเซลเซียส
เห็น Panasonic FZ-M1 เป็นแท็บเล็ตอึดถึกทนขนาดนี้ พอร์ทการเชื่อมต่อก็เป็น USB 3.0 นะครับ
ปุ่มที่ด้านบนเป็นยางชนิดอย่างหนา โดยปุมที่เรียงกันอยู่นั้นจะเป็น Start ,ปุ่มป้องกันการหมุนจอ , ปุ่ม Power ,ปุ่มเร่ง-ลด เสียง
Panasonic Tough Pad FZ-M1 กล้องหน้าความละเอียด 720 P พร้อมไมค์โครโฟนสำหรับการใช้งาน VDO Call
กล้องหลังความละเอียด 5 ล้านพิกเซล พร้อมไฟ LED
ด้านหลังของเครื่องตรงส่วนของแบตเตอรี่เป็นสลักล็อคภายนอก ซึ่งพลาสติกหนาแน่นมาก
นอกจากการซีลยางที่แน่นหนาแล้ว แท็บเล็ตรุ่นนี้ก็กำจัดจุดอ่อนไปอย่างหนึ่งคือไม่มีพัดลมระบายความร้อนนะครับ
แบตเตอรี่ของ Panasonic Tough Pad FZ-M1 สามารถถอดเปลี่ยนได้ อายุการใช้งานยาวนาน 8 ชั่วโมง
โดยใช้เวลาชาร์จไฟเพียง 2 ชั่วโมง นอกจากนั้นยังมีแบตเตอรี่แบบ 16 ชั่วโมงให้เลือก
และที่สำคัญสำหรับการใช้งานภาคสนาม คือสามารถถอดเปลี่ยนเปลี่ยนแบตเตอรี่ได้ขณะที่เปิดใช้งานเครื่องได้อยู่
Panasonic Tough Pad FZ-M1 ภาคซอฟท์แวร์
ในส่วนของ Software ของ Panasonic Tough Pad FZ-M1 นั้นมีติดเครื่องมาให้แค่พื้นฐาน
แต่ที่พิเศษคือ มีในส่วนเรื่องของกล้อง และ Dashboard for Panasonic PC
ปุ่มควบคุมของกล้อง ใน Panasonic Tough Pad FZ-M1
– Play Mode คือการเปิดภาพนิ่ง หรือว่าภาพเคลื่อนไหว
– Option คือการตั้งค่าของกล้อง
– Gesture Guide เป็นการเรียกคำสั่งลัดด้วยการลากนิ้ว
ในส่วนของ Gesture Guide เป็นการสัมผัสใช้นิ้วลากสัมผัสทิศทาง
เพื่อเข้าสู่คำสั่งลัดในการเข้าถึงโดยที่ไม่ต้องกดที่ปุ่มเมนู คุณสมบัติแบบนี้เราจะไม่ค่อยพบ
ในแอพกล้องเท่าไหร่ซึ่งก็ต้องใช้เวลาในการเรียนรู้เล็กน้อย เช่น
– การกดแช่ที่ด้านซ้าย เพื่อทำการบันทึกวิดีโอ
– การเลื่อนไปด้านข้าง เพื่อทำการปรับค่าของแสงสว่าง
– การปรับเลื่อนขึ้นลง เพื่อปรับ contrast ของภาพ
– การใช้ 2 นิ้วเลื่อนขึ้นลง เพื่อการย่อ-ขยายภาพ
Dashboard for Panasonic PC จะเป็นหน้าควบคุมของตัวแท็บเล็ต Panasonic Tough Pad FZ-M1
ซึ่งจะมีส่วนช่วยในเรื่องของการควบคุมแบบรวดเร็ว
– Touch Calibrate คือ การกำหนดจุดสัมผัสของหน้าจอเพื่อความแม่นยำ
– PC Infoviewer คือ ดูรายละเอียดของ Hardware Software ในตัวเครื่อง
– Battery Recallibration คือ การคำนวณการใช้พลังงานของแบตเตอรี่
– Camera Utility คือ การเรียกการตั้งค่าการทำงานของกล้อง
– Touch Panel คือ การตั้งค่าการสัมผัสหน้าจอ
– Power Plan คือ การคำนวณเรื่องการใช้พลังงาน
ตรงแผงปุ่มควบคุมที่ด้านบนของตัวเครื่องนั้น เราสามารถเปลี่ยนคำสั่งได้นะครับ โดยเข้าไปที่หัวข้อ
Tablet PC Setting > Buttons
อย่างในส่วนของ Power Switching ก็จะมีการจัดการพลังงานหลายรูปแบบให้เราเลือกตั้งค่า
– Balanced คือการใช้พลังงานแบบสมดุล
– Power Saver คือโหมดประหยัดพลังงาน
เวลาที่ใช้การคำนวณเยอะๆ ในโหมดนี้อาจจะทำงานช้าไปบ้าง เพราะลดความเร็วการทำงานของ CPU
– High performance คือโหมดประสิทธิภาพ
เหมาะการเวลาที่ใช้การคำนวณเยอะๆ ต้องการประมวลผลที่รวดเร็ว แต่ก็แลกกันมาด้วยการใช้พลังงานที่จะหมดเร็วกว่าปรกติ
นอกจากหัวข้อหลัก 3 อย่างนี้แล้ว
ก็จะมีโหมดอัตโนมัติที่เป็นของ Panasonic เองคือ Panasonic Power Management (Standard)
และ Panasonic Power Management (Power Saving)
ในเรื่องของการสัมผัสจอของ Panasonic Toughpad FZ-M1 เพื่อป้อนข้อมูลนั้น
มีรายละเอียดการปรับแบบยิบย่อยลงไปอีก
อย่างการรองรับการสัมผัสด้วยปากกาเท่านั้น การสัมผัสด้วยนิ้วมือเพียงดู
หรือทั้งสองอย่างรวมกัน และด้วยความที่เป็นแท็บเล็ตนอกสถานที่จะมีตัวเลือกพิเศษอีกคือ
รองรับการสัมผัสด้วยการใส่ถุงมือ ซึ่งในโทรศัพท์รุ่นใหม่หลายรุ่นก็มีความสามารถตรงนี้
คุณสมบัติที่จไม่ค่อยจะมีใส่มาให้คือ การใช้สัมผัสหน้าจอได้ในสภาวะจอเปียกน้ำ
ในเรื่องของแป้นพิมพ์ Panasonic Tough Pad FZ-M1 ด้วยความที่เป็น Windows 8
แป้นพิมพ์เลยเป็นแบบ On Screen ตายตัวอยู่แล้วครับ ไม่สามารถไปรับเปลี่ยนอะไรได้นอกจากใช้ของเดิม
สำหรับการใช้งานที่ต้องกรอกตัวเลขเยอะๆ สามารถสลับเป็นแป้นแบบมี Num Pads โดยกด &123 ที่ด้านซ้ายมือของแป้น
การเลือกใช้ Windows 8 บนแท็บเล็ต ดูจะมีแต้มต่อในแง่การพัฒนาคือ ตัวระบบปฎิบัติการณ์นั้น
สามารถรองรับการเขียนด้วยปากกาอยู่แล้ว เพราะเน้นให้ระบบปฎิบัติการเป้นแบบจอสัมผัส
กลุ่มเป้าหมายของ Panasonic Tough Pad FZ-M1
แท็บเล็ตที่แข็งแรงทนทานแบบ Panasonic Tough Pad FZ-M1 กลุ่มลูกค้าเป็นใคร
แน่นอนว่ากลุ่มลูกค้าของ Panasonic Tough Pad FZ-M1 คงต้องเป็นกลุ่มคนพิเศษที่มีความต้องการแบบเฉพาะ
อย่างเช่น ในโรงงาน อู่ซ่อมรถ หรือการใช้งานนอกสถานที่เช่น ภารกิจการทางทหาร หรือว่าการขนส่งสินค้า
การจัดการคลังสินค้า การกรอกฟอร์มอิเล็คโทรนิคส์ การตรวจสอบระบบการขาย การบันทึกข้อมูลทางภูมิศาสตร์
ลองพิสูจน์ความแข็งแรงด้วยสายตาของท่านดูครับ
นั่นก็รวมถึงวิธีการขายด้วย คือทาง Panasonic จะรับประกันถึง 3 ปี ตามมาตรฐานของสินค้าที่เน้นกลุ่มลูกค้าองค์กร
ส่วนรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถได้ที่ตัวแทนจำหน่ายของ Panasonic หรือว่าเข้าไปดูได้ที่ www.panasonictoughbook.asia ครับ