การมาของ 5G คือก้าวสู่ยุคใหม่ขชองวงการเทเลฃคอมในไทยอีกครั้ง ในฝั่ง ของ DTAC ที่หลายคนยังสงสัยในความเคลื่อนไหวเรื่อง 5G เรามีมีโอกาสได้นั่งคุยกับ คุณ สมัคร สิมพา หัวหน้าสายงานพัฒนาโครงข่ายของ DTAC ตั้งแต่ยุค 2G จนถึงยุค 5G ว่าพวกเขากำลังจะไปในทิศทางไหนกันต่อ
DTAC มีคลื่นให้บริการ 4G และ 5 G ในย่านความถี่ไหนบ้าง
- คลื่นความถี่ต่ำย่าน 900 MHz จำนวน 2×5 MHz
- คลื่น 700 MHz จำนวน 2×10 MHz
- คลื่นความถี่กลาง 1800 MHz จำนวน 2×5 MHz
- คลื่นความถี่ 2100MHz จำนวน 2x15MHz
- คลื่น 2300 MHz บนคลื่นทีโอที จำนวน 60 MHz
DTAC 5G กับแผนการให้บริการบนคลื่น 26 GHz และ คลื่น 700MHz
- บริการ FWA (Fixed Wireless Access) บนคลื่น 26 GHz หรือ บริการอินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูงประจำที่ความเร็ว 1Gbps เหมาะกับที่พักอาศัย ชุมชน โดยมีการเชื่อมต่อด้วยสัญญาณ WiFi
- บริการ 5G บนคลื่น 700 MHz จะเปิดให้บริการในช่วงไตรมาส 4 ปี 2563 สำหรับอุปกรณ์สมาร์ทโฟนที่รองรับคลื่น 700MHz 5G เช่น Samsung Galaxy S20 Ultra 5G, Huawei Mate30 Pro 5G และแบรนด์อื่นๆ ที่กำลังเข้าสู่ตลาดในประเทศไทย
-
แผนการต่อไปที่กำลังทำคือนำคลื่น 26 GHz มาทำ 5G ดังนั้นในการประมูลดีแทคจึงประมูลคลื่นย่านความถี่สูง และประมูลคลื่นมา 200 MHz ซึ่งเพียงพอในการให้บริการใน ecosystem สำหรับคลื่น 700 MHz เป็นคลื่นความถี่ต่ำ ดีแทคจะนำมาทำ 5G ให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วไทยโดยเฉพาะภูมิภาค และเสริมการใช้งานในเมืองโดยเฉพาะย่านอาคารสูง
ดีแทครุกพัฒนาไม่หยุด ดีแทคมั่นใจทุกอย่างเป็นไปตามแผนงาน เพื่อการทำโครงข่ายที่เพิ่ม coverage และ capacity ในพื้นที่ใช้งานหนาแน่น -
ข้อมูลล่าสุดไตรมาส 4 ปี 2562 ดีแทคมีสถานีฐาน 98,000 สถานี รวม 2G, 3G, 4G โดย 4G ขยายไปแล้ว 49,000 สถานี และมีแผนที่จะขยายบริการคลื่น 2300 MHz ที่ให้บริการบนคลื่นทีโอที เพิ่มอีก 3400 สถานี รวมเป็นบริการคลื่น 2300 MHz มากกว่า 20,000 สถานีในปลายปีนี้
เทคโนโลยี Massive MIMO กับการเพิ่มความสามารถในการรับส่งข้อมูล
เทคโนโลยี Massive MIMO ถูกนำมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรับส่งสัญญาณที่ดีกว่าเดิม 3 เท่าสำหรับบริการ 4G TDD ด้วยการเพิ่มความสามารถ (Capacity) ในการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อใช้งานรับชมวิดีโอ ความละเอียดสูง แบบ Full HD และการใช้งานอินเทอร์เน็ตโดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีผู้ใช้งานหนาแน่นและบริเวณตึกสูงอย่างในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความต้องการใช้งานข้อมูลในปริมาณมาก และยังมาพร้อมกับ Beamforming ด้วยการส่งสัญญาณแบบเลือกพื้นที่ที่กำหนดได้ตรงจุดเพื่อตอบสนองพฤติกรรมการใช้งาน
โดยจะมีการจะเพิ่ม Massive MIMO ทั่วไทยในปีนี้อีกหลายพันจุด เพื่อรองรับการใช้งานดาต้าสำหรับ 4G รวมทั้งเปิดให้บริการ 5G บนคลื่น 26 GHz ในพื้นที่นำร่องช่วงไตรมาส 2 ปีนี้
DTAC 5G กับแผนการเรื่องคลื่น 3500
ตัวแทนของดีแทคกล่าวว่า มีการมองคลื่น 3500 MHz คือ คลื่นหลักของ 5G และพัฒนาระบบนิเวศของบริการ 5G ใช้กันทั่วโลก ซึ่งเป็นทางทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับการให้บริการ 5G จากการทดสอบทั่วโลกที่ผ่านมาและความแพร่หลายในอุปกรณ์รองรับการใช้งาน
ประเทศไทยจะมีแผนจะจัดสรรคลื่นความถี่ 3500 MHz ซึ่งมีขนาด 300 MHz ซึ่งเป็นทางทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับการให้บริการ 5G ให้สอดคล้องกับทั่วโลก
การใช้คลื่นความถี่ 3500 MHz จะทำให้การบริหารจัดการต้นทุนได้มีประสิทธิภาพ จากต้นทุนที่ต่ำกว่าเพราะมีจำนวนผู้ใช้ทั่วโลก ทั้งในด้านอุปกรณ์โครงข่าย (Network) และอุปกรณ์ผู้ใช้ (Device) ขณะที่คลื่นย่านความถี่กลางอื่นๆ หรือ 2600 MHz ที่ไทยนำมาใช้ จะมีผู้ให้บริการเริ่มต้นน้อยกว่าโดยมีการใช้งาน 2 แห่ง คือ China Mobile ที่ประเทศจีน และ Sprint ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
เราคิดว่า : จากที่เราได้นั่งฟังการนำเสนอ และมีโอกาสได้คุยนอกรอบหลังการนำเสนอจบอยู่พักใหญ่ แน่นอนล่ะถ้าว่ากันตามตรง หลายคนมองดีแทคตอนนี้คือมวยรอง มองดีแทคคือแบรนด์ที่มีปัญหา แต่การนั่งคุยกันหลายประโยคทำให้เรารู้สึกว่า เออ..เขาก็ยังสู้อยู่แต่สู้ในเกมของเขา สู้เพื่อที่จะอุดจุดอ่อนของตัวเองให้ดีก่อน อย่างเช่นเรื่องของความครอบคลุมของพื้นที่ให้บริการ สู้ในเรื่องของธุรกิจใหม่ ที่จะเสริมเรื่องของ DATA และที่เขายืดอกยอมรับคือ ทุกเสียงที่บ่นเรื่องเรื่องปัญหามาก่อนหน้านั่นคือเรื่องจริง อย่างเช่น ความครอบคุลมของเสา หรือว่าคุณภาพสัญญาณเขาก็ยอมรับแต่โดยดีว่ามันเป็นเช่นนั้นจริงๆ แต่ก็ลงมือเก็บข้อมูลโดยการอ่านทุกความเห็น และค่อยๆ แก้กันไปในทีละจุดจนกว่าเสียงบ่นจะลดลง ซึ่งเราเองก็ประทับใจในความตรงไปตรงมา
ดีแทคเองคงไม่ได้บอกกับทุกคนว่าจะมี 5G เปิดใช้ได้ไวนัก แต่ก็มีแผนการชัดๆ ว่าเจอกันได้ในช่วงปลายปี และเน้นความครอบคลุมในจุดที่มีการใช้ ซึ่งนั่นเราก็ต้องรอดูกันไปยาวๆ ในวันที่มีการเปิดใช้จริง รวมถึงแผนการเรื่องคลื่น 3500 Mhz ในอนาคต ที่ชัดเจนว่าเขาตั้งใจจะเอาแน่ๆ และยิ้่งดูเห็นได้ชัดว่าพวกเขาฝากความหวังไว้กับคลื่นนี้ในอนาคตด้วยความตั้งใจมากแค่ไหน
<
ขอบคุณ DTAC เอื้อเฟื้อโอกาสครับ