POCO X3 NFC การมาของชื่อนี้ ที่แบกความคาดหวังหลังจากการสานต่อความสำเร็จจากรุ่นพี่ ที่เคยขึ้นแท่นของตัวแรงในราคาที่ไม่ต้องแพง แซงขึ้นมาในฐานโทรศัพท์สุดคุ้มรุ่นหนึ่งในช่วงราคาต่ำหมื่น การมารอบนี้เราคิดว่าพวกเขาทำการบ้านแก้ไขไปในจุดอ่อนที่เคยมี และชี้เป้าเอาจุดแข็งเข้ามาเสริมอยู่ครับ
ความจำในเครื่องมาที่ 64 GB ถ้าต้องให้จุใจมากกว่าสามารถไปซื้อ micro SD ใส่เพิ่มเอาเองได้ ในส่วนของ OS นั้นมากับ MIUI Version 12 ซึ่งไส้ในก็คือ Android 10 นั่นเอง
ส่วนเรื่องของซิมนั้นเครื่องเป็นโทรศัพท์แอนดรอยด์แบบ 2 ซิม แต่ตัวเครื่องยังรองรับอยู่ที่ 4G เท่านั้นนะครับ
การมีวิทยุให้มาด้วยลำหรับคนเมืองอาจจะไม่รู้สึ
ระบบการรักษาความปลอดภัยนั้นต้
การเชื่อมต่อแบบไร้สายรองรับที่มาตรฐาน Wi-Fi 802.11 a/b/g/n/ac แบตเตอรี่ที่ใส่มาให้นั้นมากับความจุ อยู่ที่ 5160 mAh จัดมาว่าใหญ๋สมตัว และที่ต้องใส่มาเป็นขุดขายสำหรับยุคนี้คือความสามารถการชาร์จไฟไวที่ต้องรวดเร็ว กับคุณสมบัติ Fast charging 33W ที่สามารถชาร์จไฟได้ 62% ภายใน 30 นาที และชาร์จไฟเต็ม 100% ภายใน 65 นาที เป็นหนึ่งในรุ่นโทรศัพท์ต่ำหมื่นที่มีคุณสมบัตินี้ใส่มาให้ ซึ่งเหมาะดีสำหรับคนที่ต้องใช้เครื่องเพื่อเดินทางไปไหนมาไหน อ่อ..ถ้าเปลี่ยยนใจอยากให้แบตอึดขึ้นอีกก็มีโหมดของ Battery Saving นะครับ
และคำว่า NFC ที่มีมาแต่หลังเครื่องก็คื
POCO X3 NFC กับการเล่นเกม
เพราะ Gaming Phone ไม่จำเป็นที่ต้องมีการออกแบบที่ไปในอวกาศซะทั้งหมด สำหรับเกมเมอร์ที่ต้องการโทรศัพท์ที่ต้องการโทรศัพท์ที่ดูเรียบๆ ไม่หวือวานี่ก็ถือว่าอยู่ในตัวเลือก เพราะฝาหลังก็เน้นไปที่ลายเส้นของเครื่
สัมผัสในตอนที่เล่นเกมนั้น กับเรื่องของการวางนิ้วเรายังต้องปรับตัวบ้างนิดหน่อย เพราะนิ้วชี้จะติดอยู่ที่ตำแหน่งตรงกล้องหลังเพราะเลนส์ที่ด้านหลังค่อนข้างจะนูนอยู่ แถมมากัน 4 เลนส์อีก แต่ถ้าลองปรับท่าจับนิดหน่อยก็พอปลดความไม่คุ้นชินทิ้งไปได้บ้าง หน้าจอเรื่องการตำแหน่งสัมผัสนั้นก็จัดว่าตอบสนองได้ดีในราคานี้ เราทดสอบกับเกมอย่าง LOL Wild Rift แล้วลองปรับกลางๆ ตามการตั้งค่าตั้งต้นก็สามารถเล่นได้ลื่นไหลดี
ตอนที่เราทำการทดสอบช่วงใหญ่ๆ นั้น เราทดสอบอยู่ในแถบชายแดนใต้ และบนรถตู้ เราก็พบว่าเราก็แน่ใจว่าการจับสัญญาณ Cell Site ระหว่างขณะรถวิ่งด้วยความเร็วสูงนั้นทำได้ดีสำหรับการวิ่งบนเครือข่าย 4G
เราลองเล่นต่อเนื่อง 2-3 เกม แบตก็ไม่ลดลงไปเท่าไหร่ราวๆ 15% ในเงื่อนไขที่ว่าเราเปิดเครื่องทิ้งไว้แต่เช้า แล้วมาทดลองเล่นกันในตอนบ่ายต้นๆ
คงต้องขอบคุณแบตเตอรี่ที่ใส่มาระดับมหึมาที่ใส่มาให้ แต่ถ้าจะปรับให้เล่นในโหมดความละเอียดสูงก็สามารถทำได้ แต่แลกมาด้วยแบตเตอรี่ที่ลดไวลงไปอีก
การเพิ่มประสิทธิภาพสำหรับการเล่นเกมนั้น มีสิ่งที่เรียกว่า Game Boost สำหรับเกมเมอร์ใครที่ผ่านโทรศัพท์แนวๆ นี้มาบ้างแล้ว คือเราสามารถเลือกเกมจาก list รายชื่อของแอพที่มีการติดตั้งเพื่อเข้าอยู่ในโหมดนี้ได้ เพื่อให้มีการประมวลผลจาก CPU เต็มที่มากขึ้น นอกจากนั้น ยังมี Performance mode สำหรับปรัับแต่งในเรื่องของการเชื่อมต่อ Wi-Fi และหน้าสัมผัสของตัวจอ
แต่กับคำถามที่ว่าถ้าไม่ปรับมันจะมีผลอะไรมั้ย อันนี้ก้ขึ้นอยู่กับเกมครับ ว่ากินทรัพยากรแค่ไหน คือ ถ้าเล่นเกมแล้วเราปรับไปที่ Medium ก็ไม่ค่อยจำเป็นเท่าไหร่
เพราะการปรับ Optimize นั้นทำให้เครื่องทำงานหนักขึ้นแน่นอน
ทดสอบกล้องงกับ POCO X3 NFC
ถึงจะเป็นสมาร์ทโฟนสายเกมมิ่ง แต่เรื่องกล้องนั้นก็ทั้งผลักทั้งดันให้มาแบบเข้ายุคสมัยด้วยกล้องหลัง 4 เลนส์ ที่มีจุดขายเบาๆ อยู่ใต้เลนส์กล้องว่า 64 MP AI Super Camera
- กล้องหน้าแบบเลนส์เดี่ยว ความละเอียด 20 ล้านพิกเซล f/2.2
- กล้อง wide ความละเอียด 64 ล้านพิกเซล, f/1.9
- กล้อง ultrawide ความละเอียด 13 ล้านพิกเซล , f/2.2
- กล้อง macro ความละเอียด 2 ล้านพิกเซล, f/2.4
- กล้อง depth ความละเอียด 2 ล้านพิกเซล, f/2.4
สำหรับความสามารถของของตัวแอพกล้องนั้น ก็ถอดออกมาจากโทรศัพท์รุ่นใหญ่
อย่างการถ่ายรูปในโหมดต่างๆ อย่าง Panorama , Slow Motion , Long Exposure ,Short Video , Night , Front & Back รวมถึงการถ่ายภาพที่ความละเอียดสุงถึง 64 ล้านพิกเซล
ในส่วนของเลนส์กล้องนั้นสามารถถ่ายได้ใน 3 ระยะ คือ 0.6X 1X และ 2X
โดยเรานำภาพเปรียบ
การที่มีกล้อง Depth Camaera ที่ความละเอียด 2 ล้านพิกเซลเพิ่มขึ้นมาอีกตัวนั้นดีอย่างไร และมีผลต่อการถ่ายภาพอย่างไรบ้าง อันนี้คือการเปรียบเทียบกันระหว่างการถ่ายรูปในโหมดธรรมดา กับ Portrait Mode ซึ่งถ้าเราสังเกตุดูก็จะเห็นว่า มีการละลายฉากหลังจนทำให้เห็นว่า ดวงไฟด้านหลังนั้นกลายเป็นวงกลมแบบที่เรียกว่าโบเก้ การถ่ายลักษณะนี้ให้ได้ผลดี ก็ต้องเว้นระยะจากแากหน้า และฉากหลังให้ห่างกันพอสมควรที่จะให้ AI และตัวกล้องได้ทำการคำนวณเพื่อหาผลลัพท์ที่เหมาะสมครับ
ซื้อดีมั้ย POCO X3 NFC
อย่างที่บอกไปในย่อหน้าข้างต้น ครั้งหนึ่งเราเคยบินไปดูร้านของ Xiaomi ที่ฮ่องกงตอนที่ โทรศัพท์ตระกูล Poco F1 รุ่นแรกนั้นวางตลาด ก็บินไปด้วยเงินตัวเองนะ! เราก็เห็นภาพว่านี่เป็นโทรศัพทืที่ผู้คนให้ความสนใจล้นหลามมาก จนยากที่เบียดตัวเองเข้าไปลองสัมผัสได้นานๆ
พอครั้งนี้เขาส่งมาให้เราได้ลองสัมผัสและทดสอบแบบยาวๆ จนเราเองก้นึกเกรงใจพวกเขาเอามาก แต่ตคลอดเวลาที่เราได้ทดลองใช้ ได้สัมผัสเราก็พอจะเข้าใจในจุดของความคิดของเขาแล้วล่ะว่าเขาตั้งใจทำโทรศัพท์มาในแบบไหน
เรามองว่า POCO เขาวางตำแหน่งของตัวเครื่องในตำแหน่งของ Value Phone ไม่ใช่ Budget อย่างเราเคยแอบๆ นึกกัน คือใส่ทุกอย่างเท่าที่จะทำได้ในราคาขายเท่านี้ มีกล้องและโหมดการถ่ายภาพที่ดีสมตัว อาจจะไม่ได้ดีสุดแต่ก็ไม่ได้หยุดตรงที่คำว่าแย่ เล่นเกมทั่วไปได้ในระดับที่น่าพอใจ ปรับแต่งให้เล่นเกมได้ไหลลื่นขึ้นในระดับที่สายตาคนปกติกำลังมองแล้วเห็นว่ามันไม่หยาบ จุดการสัมผัสของหน้าจอที่เคยบ่นกันไว้ในรุ่นแรก จากรุ่นนี้ที่เราทดสอบมาพักใหญ่ก็ยังไม่พบเจอปัญหาอะไร ขนาดหน้าจอที่ใหญ่มากพอ และขนาดที่ถือกำลังเข้ามือก็ ช่วยให้เราเอาไปทำงานจริงได้ในวันที่ต้องเอาไปใช้เปิด slide ในการนำเสนองาน เพราะในตัวเครื่องก้มีแอพลิเคชั่นสายออฟฟิซมาให้ด้วยซึ่งอันนี้ก็ถือว่าดีสำหรับคนทำงาน และแบตเตอรีที่อึดพอสมตัวทำให้เราไม่ต้องกังวลเท่าไหร่เวลาที่จำเป้นที่ต้องใช้งานในตลอดทั้งวัน ถ้าชีวิตมีสองด้านคือทำงานด้วย เล่นเกมด้วยและต้องการตัวช่วยในราคาที่พอคบหา และ 5G ยังไม่ใช่เรื่องจำเป็นเท่าไหร่เพราะยังใช้ Wi-Fi มากกว่า เราอยากบอกว่ารุ่นนี้ก็ถือว่าคบหาได้อย่างไม่ลำบากใจครับ
ขอบคุณ XIAOMI Thailand ที่เอื้อเฟื้ออุปกรณ์ในการทดสอบครับ