ไฟเส้นกลายเป็นของแต่งห้อง หรือของแต่งบ้านสมัยใหม่ที่ต้องการเล่นกับแสง ทั้งแบบแแสงขาว แสงนวล หรือว่าการเลือกเฉดสีแบบตามใจ แต่สิ่ง Light Me ทำออกมาสู่ตลาดคือ ไฟเส้นอัจฉริยะที่สามารถควบตุมได้มากกว่าไฟเส้นธรรมดา สามารถสั่งงานได้ด้วยเสียง ผ่าน Smart Phone หรือว่า Smart Speaker รวมถึงตั้งเวลาในการเปิดปิดเองได้
มาแกะกล่องส่องของตอนที่ยังปิดไฟดูก่อน คือตัวเส้นนี่ถือว่างานมาดีเลยล่ะ ความยืดหยุ่นดี ความยาวที่แกะกล่องมาอยู่ที่ 2 เมตร ซนสี RGB ปรับได้ถึง 16 ล้านสี และโซนแสงขาว สามารถกำหนด Kelvin ได้ตั้งแต่ 3,000 Kelvin จนถึง 6,500 Kelvin
มีหัวต่อสามารถเผื่อช่วงต่อขยายให้ยาวขึ้นได้อีก ส่วนแถบกาวสำหรับแปะสายไฟเส้นที่ด้านหลังนั้นใช้เป็นของ 3M ครับ
ส่วนการเปิด-ปิดเป็นแบบกดปุ่มครับไม่ได้มีอะไรสลับซับซ้อน ส่วนอแดปเตอร์ที่มานี่จัดว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดีเลยล่ะ คือเราไม่ได้อยากให้มองว่าไฟเส้น ไฟสีแบบนี้เป็นของเล่นสักเท่าไหร่ เพราะตำแหน่งที่เราวางไว้บางทีก็ติดตั้งก็ใกล้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าราคาสูงๆ หรือว่าอยู่หลังโต๊ะทำงาน โต๊ะวางทีวี อย่างน้อยมันก็มีเหตุผลที่ควรจะลงทุนกับมันหน่อยเพื่อความปลอดภัยเล็กๆ น้อยๆ ในการใช้งาน
ธีการติดตั้ง และควบคุมไฟเส้นอัจฉริยะ Light Me ผ่าน tuya
สำหรับคนที่เริ่มเข้าสู่วงการสินค้า IOT บางทีก็จะอาจจะรู้สึกสับสนหจะใช้แอปอะไรในการควบคุม อย่างไฟเส้นตัวนี้ใช้แอปชื่อ tuya mart ครับ รองรับทั้งบน iOS และ Android ซึ่งแอปนี้มีสินค้า iot มากมายหลายตัวในตลาดที่รองรับการทำงานร่วมกันครับ
1.เปิดสายไฟเส้น จากนั้นก็ไปเปิดแอป tuya แล้วทำการลงทะเบียนก่อนโดยกดไปที่ปุ่ม Sign Up
2.ในหัวข้อ Register ให้เลือกเป็น Thailand จากนั้นใส่ Email เพื่อทำการลงทะเบียนผู้ใช้ก่อนครับ
3.ทำการ Add Device โดยกดที่ปุ่ม Got It เพื่อให้ให้แอพเชื่อมต่อกับ Wi-Fi สำหรับสั่งง่านผ่านสมาทร์ทโฟนครับ
4. หน้าจอถ้า Device to be Add:1 แล้วเลือก Go to Add
5. จะมีการให้ให้วงข่าย Wi-Fi ซึ่งไฟเส้นตัวนี้จะมีคำแนะนำให้เราเชื่อมต่อกับ 2.4 GHz
6. เมื้่อหน้าจอขึ้นคำว่า Conecting ให้รอประมาณ 1-2 นาทีครับ
หลังจากที่ทำการเชื่อมต่อสำเร็จแล้ว เราจะหน้าจอการควบคุม ซึ่งมีมี 3 เมนูหลักคือ Left time ที่ให้เราตั้งเวลาการเปิดไฟ ,ปุ่มเปิด-ปุ่มปิด และ Schedule หรือการจัดตารางเวลาล่วงหน้าแบบอัตโนมัติ
ที่หน้าแรกของแอปให้ดูที่สองหัวข้อหลักคือ White และ Color ซึ่งตัวแสงนั้นจะมีสอง แบบให้เราเลือกคือ “White” หริอ “แสงขาว”และ “Color” หรือ “แสงสี” ซึ่งในโหมด White เราจะปรับได้ในส่วนของเฉดความสว่างของแสงขาว และความอุ่นของโทนแสงเหลือง ส่วนในโหมด Color นั้นเราสามารถปรับได้ทั้งความเข้ม ความสว่างของแสง และตัวเฉดสีของแสง
ในโหมด Scence นั้นจะมีซีนให้เลือกตามลักษณะของการนำไปประกอบใช้งาน เช่น Night , Read , Working , Leisure ,Soft , Colorful , Dazzling และ Gorgeous สำหรับทำงานซึ่งเราสามารถเข้าไปปรับแต่งแสงสีได้เองที่หัวข้อ Edit สามารถเลือกคู่สี เลือกความเร็ว และจังหวะของการกระพริบ เมื่อตกลงเลือกได้แล้วให้กดที่ปุ่ม submit ในโหมด Music ไฟนั้นจะกระพริบตามจังหวะให้ตามไปกับเสียงเพลง
ส่วนใครที่คิดว่าจะซื้อไปเพื้่อสร้างบรรยายามกาศวิบวับๆ แบบอารมณ์ต้อนรับกลับบ้่านสามารถตั้งเวลาเปิด-ปิด หรือตั้ง Automation ในแอปนี้ได้เช่นเดียวกันครับ
วิธีการติดตั้ง และควบคุมไฟเส้นอัจฉริยะ Light Me ผ่าน Google Home
การเชื่อมต่อกับ Google Assistant นั้นสามารถตั้งค่าการเชื่อมต่อจากแอป Tuya ได้ทันทีไม่ต้องสลับแอป โดยเข้าไปที่หน้าหัวข้อ Me จากนั้นเลือก Third Party Voice Service เป็น Google Assistant ครับโดยเลือกอุปกรณ์เป็น LightMe Light Strip
แต่เราต้องติดตั้งแอพ Google Home กันก่อนโดยดาวน์โหลดในเวอร์ชั่นของ iOS และ Android กันก่อนนะครับ
ในหน้าควบคุมของ Google Home นั้นจะทำงานได้ละเอียดน้อยกว่าตัวแอป tuya smart สิ่งที่ทำได้คือเปิด-ปิด และเลือกความสว่างโดยใช้การหมุนตัวครึ่งวงกลม ถ้าต้องการเลือกสีให้กดที่ปุ่ม Color ซึ่งสีที่มีให้เลือกนั้นจะเป็นโทนสีที่จำกัดอยู่ประมาณนึง ไม่มีให้เลือกมากนัก
แต่พอเรานำเข้าไปใส่ใน Googler Home แล้ว สิ่งที่ดีคึอเราสามารถสั่งเปิดปิดได้ด้วยเสียงของเราเอง โดยพูดคำไปที่ลำโพง Google Nest หรือส่งคำสั่งเสียงไปที่ Google Assistant ผ่านโทรศัพท์มือถือ โดยเราสามารถสั่งคำสั่งด้วยเสียงเป้นภาษาไทยได้ครับ เช่น “Hey Google ปิด (ชื่ออุปกรณ์)” ซึ่งชื่ออุปกรณ์เราสามารถตั้งให้เข้าปากเราได้ โดยสามารถตั้งชื่อเป็นภาษาไทยได้ครับ อย่างผมตั้งชื่อว่า “ไฟเส้น” อย่างที่ผมตั้งไว้ใช้เองก็เช่น “Hey Google เปิดไฟเส้น” ไปที่ลำโพง Google Nest แล้วไฟก็ถูกเปิดโดยที่ผมไม่ต้องก้มตัวไปเปิดด้วยตัวเอง หรือถ้าไม่มีลำโพงก็ใช้ไมโครโฟนในแอป Google Home ก็ได้ครับ
ซื้อดีมั้ย Light Me ไฟเส้นอัจฉริยะ
คือต้องบอกก่อนว่าไฟเส้น หรือ Light Stripe นี้่มีหลายเกรดนะครับ ถ้าเกรดราคาไม่แพง มันก็ใช้ได้ล่ะ แต่การใช้งานมันจะไม่ได้กว้าง ไม่ยืดหยุ่นอะไรเท่าไหร่ รีโมทก็คุมได้ไม่กี่สี ตัววัสดุก็ทำออกมาพอใช้ได้ในระดับหนึ่ง แต่สำหรับยี่ห้อนี่จากที่เราลองตัวคือความยืดหยุ่น งานประกอบนี่ดีเลยล่ะ ส่วนความยาวของนี่ให้มาอยู่ที่ 2 เมตร ที่ด้านบนเหมือนมีหัวต่อเผื่อว่าเสริมความยาวได้อีก
1. เราชอบที่ไม่ต้องไปดาวน์โหลดแอปของผู้ผลิตเอง ซึ่งบางทีมันก็วุ่นวายเกินไป
ถ้าจะซื้อเนี่ยก็ควรจะเคยใช่อุปกรณ์ iot ในบ้านมาก่อนบ้าง อย่างน้อยก็ต้องเคยใช้ Google Home มาบ้างล่ะ เพราะบางทีอาจจะต้องมีการ Add Device ผ่าน tuya ในแบบ manual
2. จากที่เราทดสอบมาเดือนกว่าๆ สายไม่เปื่อย ไม่ยุ่ย ไฟไม่เหลือง ไม่เลือน สีจัดชัดอยู่
3. การเชื่อมต่อกับ Wi-Fi ถ้่าเราไมได้ไปยุ่งวุ่นวายอะไรกับ router การเชื่อมต่อก็นิ่งดีครับ ไม่มีอะไรให้งอแง
4. การต่อง Wi-Fi 2.4 Ghz อาจจะวุ่นวายตอนพยายามเข้าไป Config ผ่าน Google Home แต่การเชื่อมต่อผ่าน Mesh ไม่ค่อยมีปัญหา เพราะมันจัดการให้เอง
5. การเชื่อมต่อ Wi-Fi ครั้งแรกอาจจะมีงงๆ หน่อยสำหรับใครที่มีหลายๆ SSID อันนี้ใช้การ Add Device ด้วยวิธี Manual ได้แต่ขั้นตอนจะเยอะกว่าการใช้ Auto
6. สนนราคาอยู่ที่ 1,190 บาท เทียบกับสินค้าในระดับที่สูงกว่าได้มั้ย เราก็คิดอยู่ในระดับที่สูสี และที่เราชอบคือไม่ต้องต่อ Hub! ราคาอาจจะไม่ได้ถูกที่สุดในตลาดแต่ก็เป้นตัวจบกว่าที่ขายกันระดับหลักร้อยกลางแน่ๆ
ขอบคุณ : Lightme Thailand ที่เอื้อเฟื้อสินค้าในการทดสอบครับ