หนุึ่งในรุ่นเรือหัวขบวนที่เปิดตัวปลายปี 2013 แล้วมาถึงเมืองไทยไวกว่าที่คาดกับ Oppo R1
น่าจะเป๋นรุ่นที่ Oppo ฝากความหวังไว้มาก บอกได้คำเดียวเลยว่ารุ่นนี้สวยซ่อนรูปกว่าที่คิดไว้จริงๆ
แกะกล่องมอง Oppo R1
พูดถึงตัวเครื่องของ Oppo R1 กันก่อน
พอดีผมมี Oppo ผ่านมือมาหลายรุ่นอยู่ สิ่งที่ผมรู้สึกอย่างแรกกับค่ายนี้ คือ
ทำโทรศัพท์สวยนะ แต่ช่วยทำให้แข็งแรง หรือว่าไร้จุดอ่อนได้มั้ย
เช่น ฝาเปราะ ปุ่มกดดูยาก ปัญหาแบบนี้ผมไม่เจอ Oppo R1 ซึ่งนั่นคือเรื่องที่ดี
แฟลช LED ของ Oppo R1นี่แรงพอตัวคือเขาเน้นมาเพื่อการภถ่ายภาพกลางคืนจรืงๆ
เคยเผลอเอานิ้วกดแว้บนึง..นิ้วนี่ร้อนฉ่าเลยเลยครับ
วัสดุตัวเครื่องของ Oppo R1 รุ่นนี้จะแตกต่างกับรายอื่นในตลาดหน่อยคือ เป็นกระจกทั้งด้าหน้าด้านหลัง
คือในมุมนึงคือเครื่องจะสวยมาก เวลาคุณเดินถือในที่ที่มีแสงไฟ คือหยิบถือขึ้นมามันเด่นทีเดียวล่ะ
แต่จุดที่ต้องระวังนิดนึงคือการเป็นคราบมันซึ่งก็ต้องคอยหมั่นเช็ดหน่อย
แล้วอีกอย่างที่ต้องระวังมากที่สุดคือ ฝาหลังของ Oppo R1 ดูสวยเมื่อตอนอยู่ในมือแล้วยกหูหยิบขึ้นมาโทร
ด้วยความเป็นกระจกหน้าหลังของตัวเครื่องนี่แหล่ะ แต่ในทางกลับกัน ถ้าเป็นคนที่มือมีเหงื่อเยอะๆ
อาจจะต้องใช้ความระมักระวังหน่อยเพราะมันจะลื่นหล่นจากมือง่ายมาก ครั้นจะใส่เคสก็เสียดายความสวย
บอกแบบตรงๆเลยว่าวัสดุตัวเครื่องของ Oppo R1 ดูสวยกว่า Oppo N1 เป็นไหนๆ
ทั้งในแง่วัสดุ เหลี่ยมมุม การเก็บขอบ และอื่นๆ จะลำบากกว่าก็ตรงการพิมพ์มือเดียวนี่ล่ะ
อ่อ..กล้องของ oppo นี่ ความละเอียด 8 ล้านพิกเซล และรูปรับแสงนี่กว้างมาขนาด F2.0 เลยทีเดียว
ขณะที่กล้องหน้าให้มา 5 ล้านพิกเซล
ด้านข้างเป้นช่องใส่ Sim Card ซึ่งเป็น micro sim ต้องใช้เหล็กแหลมสอดเข้าไปในรูนะครับ
ซึ่งถาดข้างในจะเป็น 2 Sim
มอง Oppo R1 ด้านซอฟทแวร์
Oppo R1 ถึงจะไม่ใช่รุ่นเรือธง แต่ตำแหน่งทางการตลาด ก็จัดว่าอยู่ในระดับที่หายใจรดต้นคอกันเลยทีเดียว
ฉะนั้นแอพลิเคชั่นติดเครื่องที่ให้มาก็จะอยู่ใรมาตรฐานแบบเดียวกัน
ระบบปฎิบัติการณ์ของของ Oppo R1 นั้น จะถูกเรียกว่า Color OS
ซึ่งก็คือ Android นั่นล่ะครับเพียงแต่ว่าถูกปรับแต่งให้ใช้งานง่ายขึ้น
หลังจากที่เรามองกวาตาในภาพกว้างๆกับแอพลิเคชั่นที่ติดมากับเครื่อง Oppo R1 ก็พบว่า
แอลพิเคชั่นที่ติดมากับเครื่องนั้น ให้มาเยอะเกินกว่าที่คาดหวังกับโทรศัพท์แนวแฟชั่นอยู่มากโขเลยทีเดียว
มาดูแผงกดตัวเลขของ Oppo R1 กันนิดนึงก่อน ในส่วนของคำแนะนำตรงนี้
กับการใช้งานทั่วไปในไทยคงไม่มีอะไรที่แปลกไปกว่าโทรศัพท์ทั่วไป
ในส่วนของการตั้งค่าการโทรยบน Oppo R1 นั้น ให้มาค่อนข้างจะยืดหยุ่นพอสมควร
ทั้งการตั้ง SMS สำหรับตอบกลับอัติโนมัติซึ่งเป้นชุดคำตอบแบบภาษาไทย
การโทรศัพท์ออัตโนมัติ การตั้ง Gesture สำหรับโทรออกแบบเร่งด่วน
ในเรื่องของแป้นพิมพ์นั้น มีการตั้งค่าภาษาไทยมาให้เลยจากโรงงาน
แต่ปุ่มสลับภาษาจะอยู่ตรงกลางหน้าจอนะครับ ต้องปรับตัวในการสลับภาษาอยู่สมควร
เพราะต้องเอื้อมนิ้วค่อนข้างเยอะ
ส่วนพิเศษของแป้นพิมพ์ที่พิเศษมี Emoticon และ Fantasy Text
สำหรับแอพตระกูลเขียนโน๊ตสั้นนี่ดูจะเป็นภาคบังคับที่โทรศัพท์ยุคนี้ต้องมีมาให้
ใน Oppo R1 ก็มีแอพแนวนี้ซึ่งสามารถบันทึกโน้ตสั้น ทั้งในรูปแบบของการพิมพ์
การแทรกภาพถ่าย การวาดด้วยนิ้วมือ ซึ่งการวาดด้วยนิ้วมือตัว
แอพจะทำการย่อลงให้พอดีกับขนาดของหน้าจอ และสามารถแบ่งเว้นวรรคได้
รวมถึงฉากหลังของแผ่นโน้ตซึ่งสามารถเปลี่ยนสีได้
โทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ๆของ Oppo เป็นค่ายที่เน้นลูกเล่นเรื่อง Motion Sensor และ Gesture ค่อนข้างมาก
คือตั้งแต่การเปิดจอกันเลยล่ะ อย่างเช่นการเปิดกล้อง หรือว่าเปิดไฟฉาย
ซึ่งจะมีรูปแบบคำสั่ง Gesture มาให้สำเร็จรูปจากโรงงานอยู่แล้ว
ซึ่งเราเลือกเปิดใช้เป้นบางอย่างก็ได้ ถ้าไม่นัดในการจำอะไรเยอะๆ
อ่อ..ที่นา่สนใจสำหรับสาวๆคือใน Oppo R1 สามารถใส่ถุงมือ
แล้วยังสามารถสัมผัสหน้าจอใช้งานเป็นปรกติได้นะครับ
แต่ถ้าต้องการเปลี่ยนการวาด Gesture ใน Oppo R1 ก็สามารถเข้าไปแก้ไขได้ในหัวข้อ “สร้างท่าทางใหม่”
เพราะการใช้สมาร์ทโฟนเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้กับการเจอสภาวะสูบพลังงาน
ในโทรศัพท์ Oppo R1 ก็เลยมีโหมด “ประหยัดแบตเตอรี่” มาให้เลือกใช้
รวมถึงการตั้งค่าการเตือนแบตเตอรี่เมื่อลดจนพลังงานเหลือไม่เกิน 40%
ทำไมต้องเป็นตัวเลข 40% .. ก็เพื่่อประสบการณ์ใช้งานที่ต่อเนื่องยังไงล่ะครับ
อย่างน้อยก็จะได้มีเวลาคิดว่า จะหาที่เสียบสายชาร์จ หรือว่าหาแบตเตอรี่เสริมมารีบเสียบเสียก่อน
เพราะหลังจากนั้นแบตเตอรี่จะลดระดับลงค่อนข้างเร็ว
สำหรับมนุษย์ขี้เบื่อ ใน Oppo R1 มีระบบ Theme ให้เลือกเปลี่ยนได้นะครับ
โดยในตัวเครื่องจะมีติดเครื่องใาให้นิดหน่อย ถ้าอยากได้เพิ่มก็สามารถดาวน์โหลดออนไลน์ได้ครับ
Oppo R1 จับสัญญาณ GPS อยู่ในระดับเกณฑ์ค่อนข้างดีเลยทีเดียว
แต่การใช้งานครั้งแรกต้องทำการ Calibrate ก่อนนะครับ
โดยใช้จับเครื่องการวาดมือเป็นเลข 8 กลางอากาศซึ่งใช้เวลาเล็กน้อย
ฉะนั้นถ้าจะเอา Oppo R1 ใช้งาน GPS นอกบ้านก็ควร Calibrate กับซักรอบก่อนนะครับจะได้ไม่เสียเวลา
ระบบรักษาความปลอดภัยใน Oppo R1
เป้นเรื่องที่น่าแปลกใจที่โทรศัพท์สายแฟชั่นอย่าง Oppo R1
จะให้ความสนใจเรื่องของความปลอดภัยขข้อมูลค่อนข่างเยอะเลยทีเดียว
อย่างเรื่องของการสำรองข้อมูลเราต้องสำรองข้อมูลโทรศัพท์ไว้ทำไม
ก็เผื่อข้อมูลเครื่องสูญหาย ตัวเครื่องเสียหาย
ซึ่งใน Oppo R1 ก็มีแอพลิเคชั่น แบ๊คอัพ และคืนค่า
สำหรับการสำร้องข้อมูลเก็บไว้ในตัวเครื่องแยกไว้ไว้ในพื้นที่ต่างหาก
โดบข้อทมูลที่เก็บไว้คือ สำรองสมุดรายชื่อ สำรองข้อความ SMS สำรองไฟล์ติดตั้งแอพลิเคชั่น
Oppo มีบริการตัวหนึ่งที่เรียกว่า O-Cloud ซึ่งใน Oppo R1 ก็มีมาให้ด้วย
โดยจะเป็นบริการสำหรับสำรองข้อมูลไว้บน Cloud อย่างเช่น
สำรองรายชื่อในโทรศัพท์ สำรองข้อมุล SMS รูปภาพ หรือแม้กระทั่งการตามหาเครื่อง
ความสามารถถัดมาที่ไม่คิดว่าจะเจอใน Oppo R1 นั่นคือเรื่องของการ ปกป้องแอพลิเคชั่น
ในบางครั้งเราก็อาจจะมีแอพลิเคชั่นที่ต้องเอาไว้ใช้งาน ซึ่งอาจจะมีข้อมูลสำคัญอยู่
โดยการปกป้องแอพลิเคชั่นนั้น ครั้งแรกเราต้องทำการสร้างตัวเข้ารหัสก่อน แล้วค่อยเลือกแอพลิเคชั่นที่ต้องการเข้ารหัสครับ
หัวข้อ “ปกป้องข้อมูล ” อันนี้สำหรับผู้ใช้ที่มีความชำนาญมากขึ้น
หลายๆ แอพลิเคชั่น มักมีการแอบทำงานอยู่เบื้องหลัง และหลายครั้งที่แอพแอนดรยด์ที่เราปิดหน้าจอไป ก็ยังทำงานเบื้องหลังเงียบๆอยู่ดี
ในหัวข้อนี้จะช่วยเราให้เลือกแอพที่ต้องการปิดการทำงานแบบฉากหลังให้ชะงัดได้แบบง่ายๆครับ
ในเวลาที่มีคนขอยืมโทรศัพท์ไปใช้ หรือเครื่องนึงอาจจะต้องใช้หลายมือ ซึ่ง
การทำงานบางอย่างบางแอพ ก็ไม่อยากให้ใครเข้าถึงได้ ตัว “Guest Mode” คือคำตอบครับ
เพราะสามารซ่อนแอพ ซ่อนรูป ซ่อน วิดีโอส่วนตัว ซ่อนเบอร์โทรส่วนตัวโดยผ่านการเข้ารหัส
ความบันเทิงบน Oppo R1
หน้าจอในการเล่นเพลงของ Oppo R1 นั้น ออกแนวเรียบหรูดูดีมาก
แต่อาจจะไม่เหมาะกับ Music Lover เท่าไหร่ เพราะมีมาให้แค่ตัวเล่นเพลง การเข้าถึง Folder เพลง
การเลือกเพลงโปรด การสุ่มเพลง และการแบ่งปัน เท่านั้นจริงๆ
ถ้าต้องการใช้ EQ คงต้องหาแอพลิเคชั่นอื่นเพิ้มติมครับ
แต่ก็ใช่ว่าภาคความบันเทิงของ Oppo R1 จะจืดชืดนัก เพราะยังบมีความสามารถในเรื่องของ DLNA
เพื่อส่งต่อไฟการเล่นเพลง เล่นภาพยนต์แบบไร้สายไปยังอุปกรณ์ที่อยู่ในวง Wi-Fi เดียวกัน
ความสามารถในการเล่น VDO มีอย่างนึงที่ Oppo ไม่เคยโฆษณา ว่า Oppo R1 นั้นสามารถทำได้คือ
VDO Player นั้น สามารถทำจอเล็กเพื่อไปเล่นบนหน้าจอการทำงานอื่นๆได้
รวมถึงการย่อ-ขยายวิดีโอด้วยการถ่างนิ้วเข้าออก
กล้องของ Oppo R1
กล้องของ Oppo R1 นั่นมากับความละเอียด 8 ล้านพิกเซล แต่มีจุดเด่นเรืองของ F Stop
แต่ว่าหน้าจอการทำงานเน้นให้ผู้ใช้ทำงานแบบใช้ง่ายๆ คล้ายกับกล้องคอมแพคมากกว่า
ดูตัวอย่างภาพจากกล้องของ Oppo R1 ได้ที่นี่ครับ
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.583479288393615.1073741848.141369745937907&type=3
ในเรื่องของการปรับแต่งคุณสมบัติของกล้องใน Oppo R1 ก็เช่นเดียวกัน
อาจจะไม่ถูกใจคนที่ต้องการดึงศักยภาพ และปรับแต่งด้วยตัวเองมากนัก
เพราะเน้นเอาแบบง่าย และสะดวกใช้สำหรับผู้ใช้ทั่วไปมากกว่า
โดยแบ่งหัวข้อการใช้งานเป็นช่องสี่เหลี่เหลี่ยมไม่ต้องเข้าเมนูลึกมาก
โดยทุกอย่างเป็นชุดคำสั่งสำเร็จรูป ไม่ว่าจะเป้นความละเอียด การตั้งค่าไวท์บาลานซ์ การถ่ายวิดีโอ
ความละเอียดของภาพถ่ายของกล้องใน Oppo R1 มีให้เลือก 3 ระดับ
คือ 3 ล้านพิกเซล 5 ล้านพิกเซล และ 8 ล้านพิกเซล
โดยอัตราส่วนของภาพถ่ายในกล้องเป็น 4:3
ตัว Sence Mode นั่นมีให้เลือกแบบพื้นฐานสำหรับการใช้กล้องของ Oppo R1 ในการถ่ายงานแบบทั่วไป
ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายรูปววิว ถ่ายแบบพระอาทิตย์ตก ภาพกลางคืน ภาพบุคคล ภาพเคลื่อนไหว
ในส่วนของไวท์ บาลานซ์มีให้มาแค่ระดับพื้นฐาน คือมีไฟฟลูออเรซเซนส์ สภาพมีเมฆมากหรรือว่าแสงกลางวัน
ความสามารถในการถ่ายวิดีโอใน oppo R1 นั้นให้มาระดับพื้นฐานนะครับ
คือ ถ่ายได้ในความ 2 ความละเอียด คือ 480 p และความละเอียดระดับ HD 720p
สรุปเกี่ยวกับ Oppo R1
ข้อดี :
– กล้องใน Oppo R1 ถ่ายไวไม่อะไรให้หงุดหงิด
– รูปรับแสงกว้างถ่ายรูปสวย
– ซอฟท์แวร์นิ่งไม่มีอะไรหน่วง หรือแฮงค์
– แอพลิเคชั่นสำหรับการใช้ภาคการทำงานเยอะเหลือเชื่อ
ข้อเสีย :
– จับมือเดียวต้องระวังลื่น
– วัสดุเปราะ ตกทีเดียวเสียงดังกร๊อบ
– ภาพถ่ายมาสีไม่ค่อยสด ปรับแต่งได้น้อย
ขอบคุณ : Oppo Thailand ที่เอื้อเฟื้อเครื่องในการทดสอบครับ