Toshiba Corporation และ naturenix สตาร์ตอัปเทคโนโลยีแบตเตอรี่
โตชิบา และ เนเจอร์นิกซ์ ร่วมกันเปิดตัวโครงการนำร่องบริการเช่าแบตเตอรี่ SCiB™ สำหรับรถมอเตอร์ไซค์รับจ้างไฟฟ้าในกรุงเทพฯ โดยมุ่งเน้นแก้ปัญหาสำคัญ 2 ประการ คือ
- ปัญหาแบตเตอรี่เสื่อมสภาพเร็ว: แบตเตอรี่ SCiB™ มีอายุการใช้งานยาวนาน ทนทานต่อสภาพอากาศร้อน ลดความถี่ในการเปลี่ยนแบตเตอรี่
- ปัญหาต้นทุนสูง: บริการเช่าแบตเตอรี่ ช่วยลดภาระค่าใช้จ่าย ทำให้ผู้ขับขี่เข้าถึงรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าได้ง่ายขึ้น
จุดเด่นของแบตเตอรี่ SCiB™
- อายุการใช้งานยาวนาน: เป็นแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนแบบชาร์จซ้ำได้ ทนทานต่อการชาร์จและคายประจุมากกว่า 20,000 ครั้ง ช่วยลดการใช้วัสดุและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และไม่ต้องลงทุนซื้อแบตเตอรี่ราคาสูงในครั้งแรก เพราะแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนมีราคาสูงและมักต้องเปลี่ยนใหม่หลังใช้งานได้เพียง 1-2 ปี และยังเคยเกิดเหตุแบตเตอรี่ไฟไหม้
- ความปลอดภัยสูง: ลดความเสี่ยงจากความร้อนและการติดไฟ
- ประสิทธิภาพการทำงานสูง: ให้พลังงานอย่างต่อเนื่อง แม้ในสภาพอากาศร้อน
บริการเช่าแบตเตอรี่ SCiB™
ระบบสมาชิก: เนเจอร์นิกซ์ ร่วมมือกับ วินดี อินเตอร์เนชั่นแนล ให้บริการเช่าแบตเตอรี่แก่ผู้ขับขี่ผ่านผู้ประกอบการฟลีต
วิธีนี้ช่วยให้ผู้ประกอบการฟลีตจัดหารถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าให้ลูกค้าได้โดยไม่ต้องแบกรับค่าแบตเตอรี่ ช่วยลดต้นทุนเริ่มแรกที่เป็นอุปสรรคในการเปลี่ยนมาใช้พลังงานไฟฟ้า ส่วนโตชิบา ซึ่งเป็นผู้ผลิตแบตเตอรี่ คาดว่าจะมีรายได้ต่อเนื่องทั้งจากค่าเช่าแบตเตอรี่และจากการผลิตและการจำหน่าย
เทคโนโลยี AI: ครงการทดสอบในครั้งนี้จะใช้แบตเตอรี่ SCiB™ ของโตชิบา ที่ติดตั้งเซ็นเซอร์เพื่อติดตามคุณสมบัติต่างๆ และส่งข้อมูลไปยังเนเจอร์นิกซ์เพื่อวิเคราะห์ด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อวิเคราะห์ข้อมูล คาดการณ์การเสื่อมสภาพ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการแบตเตอรี่
และสามารถคาดการณ์การเสื่อมสภาพของแบตเตอรี่ได้อย่างแม่นยำ เมื่อเสื่อมสภาพถึงระดับหนึ่ง แบตเตอรี่รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้ายังสามารถนำไปใช้ต่อได้หลากหลายรูปแบบ เช่น นำไปดัดแปลงเป็นแบตเตอรี่เก็บพลังงานแบบติดตั้งอยู่กับที่
สถานีเปลี่ยนแบตเตอรี่: ติดตั้งตู้ล็อกเกอร์สำหรับเปลี่ยนแบตเตอรี่ ช่วยประหยัดเวลา เทคโนโลยีการบรรจุและการชาร์จของเนเจอร์นิกซ์ลดการเกิดความร้อนด้วยการลดความต้านทานภายในให้ต่ำที่สุด และย่นระยะเวลาการชาร์จให้เร็วขึ้น โดยใช้เวลาเพียง 6 นาที นอกจากนี้ยังคาดว่าเทคโนโลยีใหม่นี้จะช่วยลดจำนวนแบตเตอรี่ที่ต้องสำรองเพื่อรอการชาร์จ
ผลลัพธ์ที่คาดหวัง:
กระตุ้นการใช้รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า: ช่วยลดมลพิษทางอากาศ และเสียง
สร้างโอกาสทางธุรกิจ: ต่อยอดไปสู่ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทอื่นๆ เช่น รถสามล้อ รถยก รถกอล์ฟ
ส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน: นำแบตเตอรี่ที่เสื่อมสภาพไปใช้ประโยชน์ต่อ เช่น ระบบกักเก็บพลังงาน
โครงการทดสอบนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญของการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย โดยเน้นการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ตอบโจทย์ความต้องการ และสร้างความยั่งยืนให้กับสิ่งแวดล้อม